ศาลเจ้าซูมิโยชิ (เครดิตรูปภาพ: Tony Mariani)

ศาลเจ้าซูมิโยชิที่เมืองฮากาตะ

ศาลเจ้าคุ้มครองการเดินทางในทะเล

ศาลเจ้าซูมิโยชิ (เครดิตรูปภาพ: Tony Mariani)
Poranut J   - ใช้เวลาอ่าน 1 นาที

ศาลเจ้าซูมิโยชิเป็นศาลเจ้าที่คุ้มครองเกี่ยวกับการเดินทางในทะเล ข้าราชการและนักท่องเที่ยวที่เดินทางจากยามาโตะไปเกาหลีและจีนจะมาสักการะศาลเจ้าซูมิโยชิที่เป็นศาลเจ้าหลักในนานิวะ(โอซาก้า)ก่อนการเดินทาง ต่อจากนั้นนักท่องเที่ยวจะเดินสายไปสักการะศาลเจ้าซูมิโยชิอื่นๆข้างทะเลสาบเซโตะแล้วจึงออกเดินทางจากท่าเรือเมืองฮากาตะ ศาลเจ้าซูมิโยชิที่เมืองฮากาตะนี้จะเป็นที่สุดท้ายที่พวกเขาสักการะก่อนล่องเรือไป

ในสมัยโบราณศาลเจ้านี้ถูกจัดอันดับให้เป็นศาลเจ้าที่ดีที่สุดและยิ่งใหญ่ที่สุดในบริเวณชิกุเซ็น(ปัจจุบันคือ จังหวัดฟุกุโอกะ) แต่เดิมพื้นที่รอบศาลเจ้าเป็นแหลมปากแม่น้ำนากางาวะที่เชื่อมเข้าอ่าวฮากาตะ

ศาลเจ้านี้สร้างเพื่ออุทิศให้แก่เทพเจ้าโซโคซึซึโอะ โน กามิ, เทพเจ้านากาซึซึโอะ โน กามิและเทพเจ้าอุวะซึซึโอะ โน กามิ เทพเจ้าเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการเดินทางในท้องทะเล ในปัจจุบันตำนานแห่งจักรพรรดินีจินกุได้รับการประดิษฐานอยู่ที่นี่โดยจักรพรรดินีได้รับคำทำนายจากเทพเจ้าสุมิโยชิ กามิ ก่อนไปรบกับเกาหลีและได้รับชัยชนะกลับมาในศตวรรษที่ 2 แต่ก็ไม่มีการบันทึกถึงเรื่องราวของชัยชนะครั้งนี้ไว้แต่อย่างใด เป็นไปได้ว่าอาจเป็นเรื่องราวที่แต่งขึ้นมา เทพเจ้าทั้ง 3 องค์กำเนิดขึ้นจากเทพเจ้ามังกรใต้ทะเลซึ่งเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมอื่น นอกจากนี้ยังมีศาลเจ้าเล็กๆที่ไว้สักการะเทพธิดาอะมาเทระสุและเทพเจ้าเอบิสุอยู่ตรงบริเวณศาลเจ้าซูมิโยชิอะมาเทระสุเป็นเทพธิดาแห่งดวงอาทิตย์และเอบิสุเป็นเทพเจ้าแห่งชาวประมง

แม้ว่าศาลเจ้าจะเป็นที่ไว้สักการะบูชาเทพเจ้าเพื่อขอเรื่องการเดินทางให้ปลอดภัยตั้งแต่ครั้งโบราณ แต่มันก็กลายมาเป็นที่รู้จักในบทกวีวากะตั้งแต่ยุคกลาง ห้องโถงหลักเป็นทรัพสินย์ทางวัฒนธรรมที่สำคัญ อีกทั้งสถานที่ตั้งยังเป็นแหล่งกำเนิดมรดกของชาติอย่างขวานทองแดงและดาบ

ห้องโถงหลักได้รับการบูรณะในปี 1623 โดยคุโรดะ นากามาสะ ขุนนางคนแรกของตระกูลฟุกุโอกะ หลังคาทรงตรงของห้องโถงหลักยังมีคุณสมบัติของรูปแบบสถาปัตยกรรมโบราณ แต่ก็ขัดแย้งโดยอ้อมกับห้องโถงสไตล์พุทธในภายหลัง ศาลเจ้าเป็นที่ตั้งของโรงละครโนที่มีเวทีแบบคลาสสิกที่ซึ่งถูกสร้างขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่และศาลเจ้ายังเป็นที่เก็บสะสมเอกสารโบราณที่แสดงให้เห็นประวัติศาสตร์ของศาลเจ้าและเมืองฮากาตะตั้งแต่ยุคกลางจนถึงปัจจุบัน

Poranut J

Poranut J @poranut.j