วัดคินคะคุจิหรือตำหนักทอง (เครดิตรูปภาพ: Kasetsart Dechkul)

วัดคินคะคุจิ[Kinkakuji Temple]

ตำหนักทองแห่งเกียวโต

วัดคินคะคุจิหรือตำหนักทอง (เครดิตรูปภาพ: Kasetsart Dechkul)
Kasetsart Dechkul   - ใช้เวลาอ่าน 1 นาที

 คฤหาสน์ทองหรือตำหนักทอง [Golden Pavilion] หรือคินคะคุจิ[Kinkaku-ji Temple]  นับเป็นเพชรน้ำเอกแห่งสมัย อาคารหลังนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของโตเกียว แต่เดิมเป็นวัดเก่าแก่แล้ว สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่พักผ่อนหลังจากลาออกจากตำแหน่งโชกุนของโยชิมิตสุ โดยมอบให้สถาปนิก มุโช โคกุชิ [ค.ศ.1271-1346] อาคารทำจากไม้ ขนาดใหญ่แบบจีน มีสามชั้น เป็นที่ประดิษฐานพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และที่พักอาศัยชั้นบนสุด สร้างตามแบบวิหารเซนแบบจีน ประดิษฐานพระตรีกายของพระพุทธเจ้าอามิตาภะ และสาวกสององค์ พร้อมพระโพธิสัตว์อีก 25 องค์ ตั้งอยู่บริเวณสระน้ำเก่าแก่มีชื่อว่าเคียวโคะหรือทะเลสาบกระจก มีการจัดวางก้อนหินให้เป็นภูเขาเก้าลูก ทะเลสมมุติแปดแห่ง และเกาะแก่งต่างๆ ตัวอาคารเป็นไม้ลงรักปิดทองทั้งหลัง โชกุนตั้งชื่อคฤหาสน์หลังนี้ว่า คิตายามะ โดโนะ หรือวังแห่งขุนเขาทิศเหนือ สถาปัตยกรรมแบบนี้มีชื่อเรียกว่าแบบ คิตายามะ อาคารเหลือรอดมาได้จากสงครามโอนิน ต่อมาได้มีการก่อสร้างอาคารสำหรับพิธีชงชาเพิ่มเติม

คฤหาสน์ทอง นอกจากมีสีทองเหลืองอร่ามแล้ว สัดส่วนก็มีจังหวะจะโคนสวยงามยิ่ง สถานที่ตั้งอยู่ริมสระยังมีส่วนช่วยเชิดชูอาคารให้ดูเด่นเป็นสง่า โดยกำหนดให้เกิดเงาอาคารสีทองสะท้อนลงบนผิวน้ำของสระ  อนึ่ง สระแห่งนี้ในสมัยเฮอันพวกชนชั้นสูงนิยมมาพักผ่อน  พายเรือเล่น บริเวณโดยรอบเป็นส่วนป่าไม้ใหญ่ร่มรื่น มีทั้งหมู่สน แอปเปิ้ล ซีดาร์ เป็นต้น ซึ่งล้วนปรากฎเป็นเงาสะท้อนในสระด้วย ช่วยขับสีทองของอาคารให้เปล่งปลั่งยิ่งขึ้น อีกทั้ง บรรยากาศของแสงสียังเปลี่ยนไปตามเวลาและฤดูกาล ช่วยให้สถานที่นี้เป็นที่ชื่นชอบของผู้มาเยือน ใน ค.ศ.1950 ตัวอาคารสีทองได้รับความเสียหายมากจากอัคคีภัย และได้สร้างขึ้นใหม่ตามแบบเดิมทุกประการ

ถ้ามาจากสถานีเกียวโต และใช้JR Pass สามารถขึ้นรถไฟมาลงที่สถานีเอ็นมาจิ ต่อด้วยรถประจำทางสาย  204,205 จะถึงที่หมาย

Kasetsart Dechkul

Kasetsart Dechkul @kasetsart.dechkul