รูปปั้นของพระโพธิธรรม (เครดิตรูปภาพ: Tomoko Kamishima)

วัดซูเจนจิที่อิสุในฤดูร้อน

พุทธศาสนาจากแดนโพ้นทะเลตอน 4 - นักบวชอิซซัง อิจิเนอิ

รูปปั้นของพระโพธิธรรม (เครดิตรูปภาพ: Tomoko Kamishima)
Onlada Chollavorn   - ใช้เวลาอ่าน 1 นาที

วัดซูเจนจิตั้งอยู่ตรงกลางของแหลมอิสุ มวลแผ่นดินที่เกิดขึ้นจากการชนกันของภูเขาไฟใต้ทะเลและแผ่นดินใหญ่ของญี่ปุ่นเมื่อ 600,000 ปีที่แล้ว จนถึงทุกวันนี้ ภูเขาไฟเหล่านี้ก็ยังปะทุอยู่ใต้ดิน ซึ่งเป็นแหล่งของบ่อน้ำร้อนทั่วแหลมแห่งนี้ ในปีค.ศ. 107 พระสงฆ์พุทธชื่อดังนามคุไค (โคโบะ ไดอิชิ) ค้นพบบ่อน้ำร้อนแรกที่ตำแหน่งซึ่งเป็นเขตซูเจนจิในปัจจุบันและได้สร้างวัดซูเจนจิขึ้นที่นั่น นับแต่นั้นมาพวกเราก็ได้เสพย์สุขกับบ่อน้ำร้อนที่มหัศจรรย์และดีต่อสุขภาพเหล่านี้มาตลอด

วัดซูเจนจิ

เมื่อย่างเท้าเข้ามาในวัด จะพบกับอาคารหลักตั้งอยู่ตรงหน้าเลย ส่วนหอระฆังจะอยู่ทางซ้ายมือ และม้าตั้งอ่างล้างหน้าอยู่ทางขวา ซึ่งจัดวางเหมือน ๆ กับในวัดญี่ปุ่นส่วนใหญ่ วัดซูเจนจินั้นมันได้ดูยิ่งใหญ่อะไรนัก แต่มีเสน่ห์และอบอุ่นมากกว่า มีประติมากรรมที่น่าสนใจอยู่ตรงนี้ด้วย นั่นคือพระพุทธรูปพระโพธิธรรม ที่เรียกว่า ดารุมะ-อิชิ ตั้งตระหง่านอยู่หน้าศาลาใหญ่ พระโพธิธรรมเป็นพระสงฆ์พุทธชาวอินเดียที่มีชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 5 ถึง 6 เป็นที่รู้จักในฐานะศาสดาของพุทธนิกายเซน ท่านเดินทางมาที่จีนยุคเก่า (ราชวงศ์เหลียง) เพื่อจะเผยแพร่คำสอน และสนทนาเรื่องเซนกับองค์จักรพรรดิ รูปปั้นของพระโพธิธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ดวยนัยน์ตาเบิกโพลงทะลุทะลวงที่มากขึ้นกว่าเดิมในประติมากรรมนี้ยิ่งน่าสนใจ!

นักบวชอิซซัง อิจิเนอิ

นักบวชอิซซัง อิจิเนอิมาจากหยวน ประเทศจีน ราชวงศ์หยวน (1271-1368) ต้องการให้ญี่ปุ่นตกเป็นเมืองขึ้นและส่งผู้ส่งสารจากทางการมาหลายครั้ง แต่คนเหล่านั้นก็ไม่เคยได้กลับไปที่จีนอีกเลย เพราะโชกุนคามาคูระประหารชีวิตผู้ส่งสารทุกครั้งไป จากนั้นราชวงศ์หยวนก็พยายามโจมตีญี่ปุ่นทั้งสองครั้ง แต่ก็ล้มเหลวทั้งสองหน จักรพรรดิเตมูร์แห่งราชวงศ์หยวน (1265-1307) จึงพลิกกลยุทธ์ใหม่จากหน้ามือเป็นหลังมือ เนื่องจากญี่ปุ่นให้ความเคารพแก่นักบวชชาวจีนเสมอมา ดังนั้น เตมูร์จึงทรงเลือกนักบวชที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดีและมอบตำแหน่งอันทรงเกียรติที่สุดในอาณาจักรหยวนให้แก่ท่าน นอกจากนี้เตมูร์ยังทรงแนะให้นักบวชที่มีเส้นสายอย่างดีในญี่ปุ่นเดินทางไปด้วยกันกับนักบวชรูปแรก ผู้ส่งสารคนสุดท้ายก็คือนักบวชอิซซัง อิจิเนอิ กับผู้ติดตามของท่านคือเซคัง สุดง

นักบวชอิซซัง อิจิเนอิกับผู้ติดตามของท่านมาถึงที่ญี่ปุ่นในปี 1229 ดังที่เตมูร์ทรงคาดหวังไว้ อิซซัง อิจิเนอิประสบความสำเร็จในการส่งมอบจดหมายทางการฑูตต่อโฮโจ ซาดาโทกิ (1272-1311) ผู้สำเร็จราชการลำดับที่ 9 ของตระกูลโชกุนทามาคุระ หลังจากทำภารกิจอันหนักอึ้งนี้เสร็จสมบูรณ์แล้ว อิซซัง อิจิเนอิขอพำนักญี่ปุ่นต่อเพื่อการพัฒนาตนเอง แต่ทางผู้สำเร็จราชการไม่ยอมเชื่อ และสงสัยว่าเป้าหมายที่แท้จริงของท่านคือการสอดแนมญี่ปุ่นให้กับราชวงศ์หยวน ดังนั้นผู้สำเร็จราชการจึงกักบริเวณท่านอิซซัง อิจิเนอิไว้ที่วัดท้องถิ่นในอิสุชื่อซูเจนจิ

แต่อิซซังไม่ได้หนักใจเลยว่าท่านอยู่ที่ไหน ท่านฝึกนิสัยตนเองทุกวัน เมื่อได้เห็นการฝึกอย่างเอาจริงเอาจังและการปฏิบัติโดยบริสุทธิ์ของท่าน ก็ทำให้นักบวชญี่ปุ่นจำนวนมากมาหาท่าน ด้วยความกระหายที่จะเรียนรู้จากท่าน

อิซซัง อิจิเนอิ วัดเคนโจจิ และมุโซ โซเซกิ

ในที่สุด ผู้สำเร็จราชการจึงปลดปล่อยท่านจากการกักบริเวณและเรียนเชิญให้ท่านมาเป็นหัวหน้านักบุญที่วัดเคนโจจิ (เป็นวัดสำคัญที่สุดของคามาคูระในตอนนั้น) ข้อความที่จารึกอยู่บนประตูโซมอนของวัดเคนโจจิเป็นลายมือของท่านอิซซัง อิจิเนอิเองเป็นคำว่า "โคฮุกุ-จัง" ซึ่งหมายถึงความปรารถนาว่าจะมีความสุขจำนวนมหาศาลที่ผ่านเข้าและออกจากประตูนี้ไป ยามที่ท่านวาดอักษรคันจิ ท่านจะลากยาวเป็นเอกลักษณ์ทุกครั้ง กล่าวกันว่าการลากยาวนี้แหละช่วยเสริมพลังความสง่างามเป็นพิเศษในแต่ละตัวอักษร

ที่วัดเคนโจจิ ผู้ฝึกปฏิบัติธรรมเซนขั้นสูงจำนวนมากรวมตัวกันอยู่ที่บริเวณศูนย์ฝึก อิซซัง อิจิเนอิได้คอยเฝ้าสังเกตพวกเขาและตัดสินใจจัดให้มีการสอบเข้า ท่านคิดว่านักบวชควรจะมีความรู้ด้านวัฒนธรรมพื้นฐานในระดับหนึ่งก่อนจะเริ่มการศึกษา มุโซ โซเซกิ นักบุญวัยหนุ่มผู้มักจะร่อนเร่ไปมา ได้คะแนนสอบสูงสุด ท่านฝึกฝนอย่างหนักหน่วง แต่แล้วก็ออกจากวัดเคนโจจิหลังผ่านไปได้เพียงสามปีเท่านั้น อีกไม่กี่ปีต่อมา มุโซ โซเซคิได้ยินว่าอิซซัง อิจิเนอิได้ย้ายไปที่วัดเอนงาคุจิแล้ว จึงกลับไปเป็นลูกศิษย์ของท่านอิซซังอีกครั้ง มุโซ โซเซคิเป็นนักเรียนที่ขยันและกระตือรือร้นที่จะทำความเข้าใจ ระหว่างการสนทนาของทั้งคู่ มุโซ โซเซคิมักจะถามอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างอิซซัง อิจิเนอิเกี่ยวกับแก่นแท้ของเซนอยู่เสมอ แต่อิซซัง อิจิเนอิกลับบอกซ้ำ ๆ ว่าคือความไม่มี มุโซ โซเซคิไม่อาจเข้าใจได้ว่าอาจารย์ของตนหมายความว่าอะไร ท่านคิดด้วยซ้ำว่าที่ท่านไม่เข้าใจคงเป็นเพราะปัญหาเรื่องภาษา หลังจากนั้นมุโซ โซเซคิก็ได้ไปเยี่ยมเยียนนักบุญี่ปุ่นระดับสูงที่ชื่อว่าโคโฮ เคนนิชิ เมื่อได้ฟังเรื่องราวของมุโซ โซเซคิแล้วนั้น โคโฮ เคนนิชิก็ได้ทักท้วงถึงความเข้าใจผิดของโซเซคิ โดยท่านโคโฮ เคนนิชิได้กล่าวว่า "อิซซัง อิจิเนอิก็ได้ให้คำตอบแก่ท่านไปแล้วไง" และในปีต่อ ๆ มา มุโซ โซเซคิก็ได้กลายเป็นสุดยอดปรมาจารย์เซนในญี่ปุ่น

อิซซัง อิจิเนอิเป็นักบวชเซนชาวจีนที่มีความรู้ มีความเป็นศิลปิน และรอบรู้รวมไปถึงอารมณ์ขันด้วยดังที่ได้เห็นในข้อความจารึกที่ไม่เหมือนใครของท่าน แบบอักษรวิจิตรที่เป็นเอกลักษณ์ของท่านสามารถชมได้ที่วัดชเงะสึเดงในซูเจนจิได้เช่นกัน ถ้าคุณวางแผนจะไปที่ซูเจนจิ สปา ลองสละเวลาสักนิดเพื่อมาชื่นชมอิซซัง อิจิเนอิและวัดซูเจนจิดู

เกี่ยวกับบทความชุด: พุทธศาสนาจากแดนโพ้นทะเล

1. กันจิน วาโจ (688-763): วัดโทโชไดจิในนาระ

2. รังเคอิ โดริว (1213-1278): วัดเคนโชจิในคามาคุระ

3. มุงาคุ โซเงน (1226-1286): วัดเอนงาคุจิในคามาคุระ

4. อิซซัง อิจิเนอิ (1247-1317): วัดซูเจนจิในอิสุ

5. อินเงน ริวคิ (1592-1673): วัดมันพูคูจิในอูจิ

6. โทโกะ ชิเนทสึ (1639-1696): วัดไดโอจิในโทจิงิ

Onlada Chollavorn

Onlada Chollavorn @onlada.chollavorn

My name is Onlada. I am passionate about creative thinking and digital technology. My motto is “The price of success is hard work, dedication to the job at hand, and the determination that whether we win or lose, we have applied the best of ourselves to the task at hand.”