ศาลเจ้า ตกแต่งด้วยสวยหย่อมเล็กๆ (เครดิตรูปภาพ: Valerie Kor)

คันโคจิ ศาลเจ้าท้องถิ่นในโอตะ

ศาลเจ้าท้องถิ่นอันสวยงามใกล้กับแม่น้ำทามากาวะ

ศาลเจ้า ตกแต่งด้วยสวยหย่อมเล็กๆ (เครดิตรูปภาพ: Valerie Kor)
Onlada Chollavorn   - ใช้เวลาอ่าน 1 นาที

การออกนอกทางระหว่างจะไปเที่ยวที่ทามากาวะได้กลายเป็นการเปิดหูเปิดตาในด้านประเพณีเกี่ยวกับความตายของญี่ปุ่นอย่างไม่ทันคาดคิด หลังเดินมาได้ 10 นาทีจากอพาร์ตเมนต์ของฉันที่โอคเฮาส์ คามาตะ 260 โดยมุ่งตรงไปยังโยโกฮามะนั้น ฉันไปสะดุดตาเข้ากับศาลเจ้าเล็ก ๆ ชื่อคันโคจิ (観乗寺) สถานที่ศักดิ์สิทธิ์อันสงบสุขที่ซ่อนสายตาอยู่จากถนนใหญ่

ประวัติของศาลเจ้าคันโคจินั้นย้อนไปไกลถึงปีค.ศ. 1624 ถูกสร้างขึ้นโดยข้าราชการที่ทำงานอยู่ในรัฐบาลโทกุกาวะ แม้จะมีประวัติยาวนานถึง 400 ปี แต่ในปี 1945 สงครามได้ทำลายทรัพย์สมบัติล้ำค่าของวัดแห่งนี้ลงไปหมดสิ้น

ศาลเจ้าคันโคจิในปัจจุบันถูกสร้างขึ้นมาใหม่ ไว้สำหรับประชาชนของเขตโอตะ

ตอนแรกฉันเดินเข้าไปที่ บริเวณของศาลเจ้าอย่างระมัดระวัง ก้อนกรวดก้อนหินส่งเสียงอยู่ใต้เท้าของฉัน ไม่เห็นใครอยู่แถวนั้นเลย ทำให้ฉันสงสัยว่าที่นี่เปิดให้คนทั่วไปเข้าได้หรือเปล่า ฉันสลัดความรู้สึกผิดที่คิดว่าตัวเองอาจกำลังบุกรุกพื้นที่ออกไป แล้วเริ่มเดินสำรวจสิ่งที่อยู่ในวัดต่อไป

สิ่งแรกที่สะดุดความสนใจฉันคือ "รางน้ำชำระความบริสุทธิ์" ซึ่งมีให้เห็นเป็นปกติในศาลเจ้าของญี่ปุ่น คำว่า洗心 (เซน-ชิน) ที่สลักอยู่ตรงนั้นแปลได้ตรงตัวว่าการล้าง หรือการชำระใจให้บริสุทธิ์ พอได้อ่านอักษรคันจิก็ทำให้ฉันรับรู้ถึงความขลังของสิ่งก่อสร้างอันศักดิ์สิทธิ์นี้ แล้วฉันก็ยังตื่นตาตื่นใจไปกับรูปสลักมังกรสีครามเขียวอันสวยงามซึ่งอยู่บนรางน้ำชำระบริสุทธิ์ ส่วนใหญ่แล้วเราจะเห็นรางน้ำชำระบริสุทธิ์อยู่ที่บริเวณทางเข้าของศาลเจ้าญี่ปุ่น การล้างมือด้วยกระบวยและน้ำที่อยู่ในรางเป็นสัญลักษณ์แทนการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ แล้วก็ยังเป็นธรรมเนียมด้วยว่าให้เอามือวักน้ำขึ้นจากราง อมไว้ในปาก แล้วบ้วนออกลงพื้นตรงข้าง ๆ รางน้ำ

น่าเสียดายที่อาคารใหญ่ของวัดไม่เปิดให้คนทั่วไปเข้าชม พอหลังจากถ่ายรูปด้านนอกเก็บไว้แล้วนั้นฉันก็ตรงไปยังด้านหลังของวัดอันเป็นบริเวณของสุสานตระกูลต่าง ๆ ฉันเดินผ่านหลุมฝังศพด้วยความเคารพและมองชื่อที่สลักอยู่บนศิลาด้วยความรู้ด้านตัวคันจิที่มีอยู่น้อยนิดของฉัน ประเพณีหลุมฝังศพและสุสานของญี่ปุ่นนั้นมีรากฐานหลัก ๆ มาจากพุทธศาสนา ที่ด้านหลังศิลาของแต่ละหลุมจะมีแผ่นไม้บาง ๆ ที่เรียกว่า "โสะโตะ-บะ" (卒塔婆) ที่มาจากคำว่าสถูปในภาษาสันสกฤตแปลว่าเจดีย์ จากที่เคยไปประเทศกัมพูชาและไทยทำให้ฉันคุ้นเคยกับเจดีย์ที่ทำจากหิน แต่วันนี้ฉันเพิ่งมารู้ว่าชาวญี่ปุ่นใช้โสะโตะ-บะเป็นสัญลักษณ์แทนเจดีย์ด้วย นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมรูปร่างด้านบนของโสะโตะ-บะถึงได้ดูเหมือนเจดีย์ บนผิวของแผ่นไม้แบนเรียบนั้นสมาชิกในครอบครัวมักจะเขียนชื่อของชาวพุทธที่ตายจากไป รวมทั้งวันที่เสียชีวิต และข้อมูลอื่น ๆ ที่สำคัญไว้บนนั้น

ศิลาหน้าหลุมศพหลุมหนึ่งมีรูปปั้นของผู้หญิงกับเด็ก ๆ สองสามคน ฉันเลยคิดว่านั่นคงเป็น "พระเจ้า" หรืออะไรทำนองนั้น ซึ่งผู้ดูแลประจำศาลเจ้าได้อธิบายให้ฉันฟังว่ารูปปั้นนั้นสร้างขึ้นเพื่อเป็นการสักการะบรรพบุรุษ ให้แก่ผู้หญิงคนหนึ่งที่เสียชีวิตขณะอุ้มท้องลูกที่ยังไม่เกิด

ฉันเป็นชาวสิงคโปร์เชื้อจีน และคุ้นเคยดีกับธรรมเนียมการสักการะบรรพบุรุษ จึงสงสัยเรื่องวันพิเศษที่อุทิศแด่สุสานในวัฒนธรรมญี่ปุ่น ผู้เฝ้าสุสานคนนั้นก็บอกกับฉันว่าจะมีช่วงโอบอนในเดือนสิงหาคม ซึ่งกินเวลาสามวัน ในสามวันนั้นครอบครัวของผู้ที่จากไปจะทำความสะอาดหลุมฝังศพ ก่อไฟหรือจุดโคมเพื่อช่วยนำทางวิญญาณกลับบ้าน และเป็นการส่งกุศลไปให้แก่ผู้ตายด้วย ช่วงโอบอนยังเป็นการเฉลิมฉลองเทศกาลฤดูร้อนเช่นกัน จะมีงานแห่ขนาดใหญ่ที่ชาวญี่ปุ่นสวมชุดยูกาตะไปร่วม

สิ่งที่กระตุ้นความสนใจของฉันจากประสบการณ์ครั้งนี้คือการได้รู้ว่าชาวญี่ปุ่นนั้นมองเรื่องความตายอย่างไม่เคร่งเครียดเท่าไหร่เลย ถ้าเป็นในวัฒนธรรมตะวันตก หรือแม้แต่ในสิงคโปร์ล่ะก็ ความตายเป็นเรื่องต้องห้าม และน่ากลัวด้วยซ้ำ แทบจะไม่มีการเฉียดไปใกล้สุสานเด็ดขาด แต่ในทางตรงข้ามนั้น อาจเป็นเพราะความเชื่อเรื่องการกลับชาติมาเกิดของชาวพุทธ คนญี่ปุ่นจึงไม่ได้มองว่าความตายเป็นเรื่องที่น่าหวาดกลัว

ฉันกลับจากคันโคจิมาพร้อมกับความรู้ใหม่เรื่องประเพณีพิธีฝังศพและมุมมองเรื่องชีวิตหลังความตายของชาวญี่ปุ่น การได้พูดคุยกับคนเฝ้าสุสานด้วยภาษาญี่ปุ่นเท่าห่างอึ่งของฉันก็ทำให้ได้ความรู้ใหม่เกี่ยวกับธรรมเนียมญี่ปุ่นมากพอแล้ว พวกเขายังใจดีมากอุตส่าห์ให้แผนที่ของโอตะและข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของคันโคจิกับฉัน ที่นี่ยังถือเป็นสถานที่แห่งความสงบและสวยงาม ไว้สำหรับหลบหลีกจากถนนใหญ่ โรงงาน โชว์รูมรถ และร้านอาหารที่วุ่นวาย

Onlada Chollavorn

Onlada Chollavorn @onlada.chollavorn

My name is Onlada. I am passionate about creative thinking and digital technology. My motto is “The price of success is hard work, dedication to the job at hand, and the determination that whether we win or lose, we have applied the best of ourselves to the task at hand.”