ที่ทางเข้าที่คุณสามารถจะดูที่ผลงานบนจอแสดงผล หรือเดินไปในโดยไม่ต้องอ่านมันก็ได้ (เครดิตรูปภาพ: Valerie Kor)

ฟูจิ ฟิล์ม สแควร์ สวรรค์การถ่ายภาพ

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ภาพถ่ายและแกลลอรี่ที่ฟูจิ ฟิล์ม

ที่ทางเข้าที่คุณสามารถจะดูที่ผลงานบนจอแสดงผล หรือเดินไปในโดยไม่ต้องอ่านมันก็ได้ (เครดิตรูปภาพ: Valerie Kor)
Onlada Chollavorn   - ใช้เวลาอ่าน 1 นาที

ตั้งอยู่ในย่านกลางเมืองของโตเกียวที่เพิ่งสร้างใหม่ ที่ฟูจิ ฟิล์ม สแควร์มีทั้งพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ภาพถ่าย แกลลอรี่ขนาดเล็ก และพื้นที่นิทรรศการภาพถ่ายสองแห่ง สามารถเข้าชมพิพิธภัณฑ์และนิทรรศการได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ! แต่โปรดจำไว้ว่าที่นี่ไม่อนุญาตให้ถ่ายรูป เพราะฉะนั้นในบทความนี้จะไม่มีรูปถ่ายจากภายในแกลลอรี่และพิพิธภัณฑ์ประกอบ

พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ภาพถ่ายเต็มไปด้วยกล้องถ่ายรูปสมัยก่อนจำนวนมากที่ฟูจิฟิล์มเป็นผู้ผลิตมาตั้งแต่ยุคแรกเริ่ม คุณสามารถลองใช้งานเครื่องรุ่นเก่าเหล่านี้ได้ อย่างเช่นฟูจิฟิล์ม คิโนระ ที่เป็นเครื่องดูสมุดภาพดีด โดยผู้ใช้จะหมุนแกนที่อยู่ด้านขวามือ เพื่อเคลื่อนม้วนที่บรรจุภาพหลายหน้าหมุนเป็นวงกลม นั่นคือการชม "แอนิเมชั่น" ในยุคเริ่มต้น เป็นเรื่องน่าสนใจมากที่ได้รู้ว่ามีการพยายามสร้างภาพแบบสามมิติมาตั้งแต่ยุคทศวรรษ 1840 ตอนที่มีการคิดค้นเครื่องมองภาพสามมิติขึ้น แล้วก็ยังมีเกร็ดและข้อมูลน่ารู้อีกหลายอย่างให้คุณค้นพบได้ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ภาพถ่ายฟูจิฟิล์ม

ช่วงนี้พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ภาพถ่ายกำลังนำผลงานของช่างภาพอิเฮอิ คิมูระมาจัดแสดงไปจนถึงวันที่ 27 ธันวาคม 2013 ในชื่องาน "การเดินทางสองครั้งของอิเฮอิ คิมูระ - ณ หมู่เกาะริวคิวและภูมิภาคอากิตะ" ภาพถ่ายจากการเดินทางเพื่อบันทึกภาพครั้งแรกของอิเฮอิ คิมูระไปยัง หมู่เกาะริวคิวและภูมิภาคอากิตะจะพาคุณย้อนเวลากลับไปในแผ่นดินญี่ปุ่นชนบทช่วงยุคทศวรรษที่ 1930

การนำกล้องของฟูจิฟิล์มมาวางขายในตลาดตอนนี้ที่ซุ้มเล็ก ๆ ข้างพิพิธภัณฑ์ทำให้เกิดความรู้สึกต่อเนื่องของยุคสมัย นับตั้งแต่กล้องถ่ายภาพที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นเมื่อ 150 ปีที่แล้ว ไปจนถึงกล้องแบบฟิล์ม กล้องดิจิตัล หรือกล้องดีเอสแอลอาร์ เทคโนโลยีก็ยังคงพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ ในปัจจุบันเพื่อปรับปรุงคุณภาพของการบันทึกและเก็บรูปถ่าย คุณสามารถไปลองสัมผัสกล้องฟูจิฟิล์มได้ที่ตลาดและสามารถซื้อได้ด้วยถ้าคุณต้องการ

ตรงเครื่องเล็ก ๆ ที่เรียกว่าซีเอ็ม คอร์เนอร์คุณสามารถค้นและย้อนดูโฆษณาโปรโมทกล้องฟูจิฟิล์มสมัยก่อนที่ทำขึ้นเมื่อร้อยปีที่แล้วได้ด้วย

ที่ชั้นเดียวกันนั้น หลังจากที่คุณชมพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ภาพถ่ายเสร็จแล้ว ให้ไปต่อที่ส่วนนิทรรศการภาพถ่าย ซึ่งมีแกลลอรี่ขนาดเล็กและพื้นที่จัดแสดงสองส่วน ที่แกลลอรี่ขนาดเล็กมีไว้สำหรับจัดงานนิทรรศการของทางฟูจิฟิล์ม อย่างวันที่ฉันไปมีภาพถ่ายของแมวและสุนัขพร้อมคำโปรยสุดสร้างสรรค์ การเดินผ่านแกลลอรี่ที่เต็มไปด้วยความน่ารักทำให้ฉันหัวเราะคิกคักหลายครั้งเลย

พื้นที่จัดแสดงภาพถ่ายทั้งสองส่วนที่อยู่ถัดจากแกลลอรี่จะมีผลงานของช่างภาพที่แตกต่างกันออกไปทุกอาทิตย์มาจัดแสดง อย่างอาทิตย์ที่แล้วในส่วนที่ 1 เป็นผลงานของชุดรูปถ่ายช่างภาพมาซามิ โกโตะที่ถ่ายไว้ ณ อุทยานแห่งชาติอะคันของฮอกไกโดในชื่อ "อะคันและมาชู: สัญลักษณ์ของผืนป่าและสายน้ำ" ภาพถ่ายของโกโตะให้ความรู้สึกสงบและทำให้เห็นความงดงามอลังการของฮอกไกโด ในส่วนที่ 2 นั้นเป็นผลงานของริสึโกะ นาอิโตะในนิทรรศการชื่อ "ม้า ม้า ม้า" ผลงานภาพม้าของนาอิโตะนั้นสวยตรึงตาและเธอยังเป็นช่างภาพที่เชี่ยวชาญพิเศษด้านการเก็บภาพการเคลื่อนไหวที่สง่างามของม้าด้วย การใช้ข้อความประกอบภาพม้าแต่ละตัวยิ่งช่วยเพิ่มจินตนาการให้มากขึ้นยามได้มองรูปถ่าย

ของแถมสำหรับผู้ที่ชื่นชอบภาพถ่ายคือกิจกรรมเกี่ยวกับการถ่ายรูปจำนวนมากที่ทางฟูจิฟิล์มจัดเตรียมไว้ให้ ที่โต๊ะซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับห้องน้ำ คุณสามารถหยิบโบรชัวร์การประวดถ่ายภาพ พูดคุยกับคนอื่น หรือโปสการ์ดสวย ๆ หลายใบ สำหรับฉัน การได้คุยกับช่างภาพสัตว์ป่าทำให้กระตุ้นความสนใจ และเพราะไหน ๆ ก็ฟรี ฉันเลยลงชื่อที่โต๊ะอย่างไม่ลังเล และถึงแม้จะเป็นภาษาญี่ปุ่น แต่ภาพที่เห็นนั้นอยู่เหนือการใช้ภาษา ฉันเลยชมต่อยาว ๆ

ช่วงหนึ่งอาทิตย์ระหว่างวันที่ 25 ตุลาคม ถึง 1 พฤศจิกายน นิทรรศการฟูจิฟิล์มโตเกียวจะจัดงานแสดงภาพถ่าย "นิทรรศการอามาเทระครั้งที่ 17 - พระอาทิตย์ พระจันทร์ ท้องฟ้า ทะเล โลก" และ "นิทรรศการประกวดแข่งขันการถ่ายภาพสัตว์ป่าของฮอกไกโด" ไม่ว่าคุณจะไปที่ฟูจิฟิล์ม สแควร์เมื่อไหร่ก็ตาม จะมีสิ่งที่น่าสนใจมาจัดแสดงทุกครั้งและยังสบายกระเป๋าสตางค์อีกด้วย

Onlada Chollavorn

Onlada Chollavorn @onlada.chollavorn

My name is Onlada. I am passionate about creative thinking and digital technology. My motto is “The price of success is hard work, dedication to the job at hand, and the determination that whether we win or lose, we have applied the best of ourselves to the task at hand.”