เต้นกันทั้งคืนที่งุโจ (Photo: Gifu Prefecture Image Gallery)

เทศกาลงุโจ โอโดริ

งานเต้นรำสามสิบสองคืน

เต้นกันทั้งคืนที่งุโจ (Photo: Gifu Prefecture Image Gallery)
Nathee T   - ใช้เวลาอ่าน 1 นาที

ตั้งแต่สมัยที่ฉันยังเป็นเด็กผู้หญิงตัวเล็ก งานเทศกาลหนึ่งของงุโจที่ฉันเฝ้ารอคอยคืองุโจ โอโดริ จะมีการปิดตัวเมือง ตั้งเวทีขึ้น ประดับไฟตามตึกราบ้านช่อง อ้อแล้วก็พวกซุ้มขายอาหาร ของเล่น และของหวานทั่วทุกฝั่งถนนด้วย มันสุดยอดมาก ๆ ! ขนาดตอนที่ยังเป็นเด็ก พ่อแม่ฉันยังปล่อยให้ฉันอยู่ถึงดึกเพื่อร่วมงานเทศกาลสามสิบสองคืนนี้เพราะว่ามันเป็นทั้งประเพณีและวัฒนธรรมของงุโจที่มีมาตั้งแต่ 400 ปีที่แล้ว

เมื่อพระอาทิตย์ตกดิน แสงไฟจะส่องสว่าง และบรรดาชาวบ้าน ญาติสนิทมิตรสหายทั้งหลายจากทั่วโลกจะแต่งตัวแล้วมารวมพลกันอยู่ที่เวทีใหญ่นอกศาลากลางเมืองเก่า (ปัจจุบันเป็นสำนักงานท่องเที่ยว) เพื่อรอคอยงานเทศกาลเปิดฉาก จากนั้นจะมีเสียงขับขาน "ฮารุ โคมะ ฮารุ โคมะ" เริ่มบรรเลงการเต้น มวลมหาประชาชนจะพร้อมใจเคลื่อนตัวในทิศทางเดียวกันอยู่รอบเวที เสียงปรบมือผสานกับเงตะ (รองเท้าไม้) กลายเป็นดนตรีสดของชามิเซน กลอง พร้อมเสียงร้องเกิดเป็นจังหวะประกอบที่สอง

ตอนที่ฉันยังเป็นเด็ก การเต้นรำเป็นอะไรที่สนุกมาก แต่แน่นอนว่าบรรดาซุ้มที่เต็มไปด้วยไทยากิ คาราอาเกะ สายไหม ยากิโซบะ น้ำแข็งปั่น อมยิ้มแอปเปิ้ลกับพวกซุ้มที่ขายของเล่นและชักชวนให้เด็ก ๆ มาจับปลาทองด้วยแผ่นกรองกระดาษก็ดึงดูดสายตาฉันอย่างมาก

เทศกาลงุโจ โอโดริจะจัดเป็นเวลาสามสิบสองคืนตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมและไปสิ้นสุดลงตอนต้นเดือนกันยายน ชาวบ้านจะช่วยขนเวทีของนักดนตรีมาที่ถนนในตัวเมืองทุกวัน ถ้าคุณอยากช่วยก็เข้าไปถาม "ขอช่วยได้ไหมครับ? " ("วะตะชิโมะ อิชโชะ นิ ยัตเตะ อิเดสุก๊ะ?" ในภาษาญี่ปุ่น) ซึ่งพวกเขาจะดีใจมาก! ในช่วงสี่วันของโอบอน (13 - 16 สิงหาคม) ซึ่งเป็นช่วงเซ่นไหว้บรรพบุรุษ จะไม่ใช่แค่เต้นหลายชั่วโฒง แต่เต้นยันเช้าเลย แม้แต่กลุ่มชาวบ้านที่เล็กที่สุดของงุโจก็ออกมาวิ่งและเต้นกันตลอดคืน

เทศกาลอายุ 400 ปีนี้มีมาตั้งแต่สมัยเอโดะ ขุนนางศักดินาเรียกรวมพลจากทั้งสี่ชนชั้น นักรบ ชาวนา ช่างฝีมือ และพ่อค้า (ลดหลั่นมาตามลำดับชั้น) และอนุญาตให้ต่างชนชั้นมาร่วมเต้นรำในช่วงโอบอนได้ ที่ผ่านมางานเทศกาลเต้นรำได้เริ่มมีชื่อเสียงขึ้นมาและตอนนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่องุโจ โอโดริ (เต้นรำ)

มีการเต้นรำ 10 แบบตั้งแต่แบบเร็วมากไปจนถึงแบบเชื่องช้า ในการเต้นรำของงุโจไม่มีท่าเต้นแบ่งตามเพศ บางคนก็เต้นอย่างโดดเด่น บางคนก็เต้นเบา ๆ ตามคนอื่น ซึ่งกฌแล้วแต่ว่าคุณอยากเต้นแบบไหน แล้วก็ยังมีเวทีกับดนตรีกระจายอยู่จำนวนมากทั่วถนนให้คุณเต้นได้ทุกที่ ถ้าเกิดคุณอยากจะเรียนท่าเต้นสักหน่อยก่อนไปร่วมงาน ก็สามารถร่วมชั้นเรียนสั้น ๆ ได้กับอาจารย์สอนเต้นที่ได้รับการรับรอง ณ ฮาคุรันคัน หรือไม่ก้แค่เต้นตาม ๆ คนอื่นที่อยู่รอบตัวคุณ ชาวงุโจจะเป็นคนสอนคุณเอง

ตอนนี้ผ่านมาหลายปีและหลายงานเทศกาล ฉันกับสามีเดินพาลูกสาวเราไปยังย่านตัวเมือง ถนนก็เริ่มคึกคักแล้ว เราพาลูกเพื่อไปร่วมเต้นและแนะนำให้เธอรู้จักกับวัฒนธรรมและประเพณีที่สำคัญของชุมชนเรา

ถ้าคุณมาที่กิฟุในช่วงฤดูร้อน แวะมาที่งุโจเพื่อร่วมเต้นรำ กิน ดื่ม และรู้จักเพื่อนใหม่ได้ตลอดทั้งคืน เรายินดีต้อนรับเสมอถ้าคุณมา

Nathee T

Nathee T @nathee.t