สวนทิศตะวันออกการตั้งในออกแบบให้เสาหินทั้งเจ็ดต้นแทนกระบวยขนาดใหญ่ซึ่งในนิกายเซนกระบวย (เครดิตรูปภาพ: Tomoko Kamishima)

ฤดูใบไม้เปลี่ยนสีที่วัดโทฟุคุจิ

สวนโฮโจแสนงดงามโดย ชิเงะโมริ มิเรอิ

สวนทิศตะวันออกการตั้งในออกแบบให้เสาหินทั้งเจ็ดต้นแทนกระบวยขนาดใหญ่ซึ่งในนิกายเซนกระบวย (เครดิตรูปภาพ: Tomoko Kamishima)
Wachiraporn Palasan   - ใช้เวลาอ่าน 1 นาที

  หากพูดถึงสถานที่ชมใบไม้เปลี่ยนสีอันขึ้นชื่อของเกียวโต แน่นอนว่าจะต้องมีชื่อของสะพานทสึเท็งเคียวแห่งวัดโทฟุคุจิในเขตฮิงาชิยามะอยู่ด้วย วัดโทฟุคุจิเป็นวัดขนาดใหญ่ที่ใช้เวลาสร้างถึง 19 ปี (ค.ศ. 1236-1255) ด้วยเหตุที่ว่าบริเวณพื้นที่ของวัดขยายออกไปอยู่เหนือแม่น้ำทำให้ต้องมีการสร้างสะพานเพื่อเชื่อมต่อการสัญจรภายในวัด ในฤดูใบไม้ร่วงวิวทิวทัศน์ของใบไม้ที่เริ่มเปลี่ยนสีสดใสดึงดูดผู้คนจากทั่วญี่ปุ่นให้มาชมสีของใบไม้ที่มีตั้งแต่สีส้มอมแดงไปจนถึงแดงสดก่อนที่จะร่วงโรยไป แต่ทว่านอกจากการชมใบไม้เปลี่ยนสีแล้วฉันยังอยากจะแนะนำสวนแบบญี่ปุ่นอันงดงามที่ขึ้นชื่อของวัดแห่งนี้อีกด้วย

เดินชมรอบวัด

  เมื่อมาถึงภายในบริเวณวัดจะพบกับประตูนิโอมงซึ่งอยู่ตรงข้ามกับสะพานงะอุนเคียวแล้วก็เลี้ยวซ้าย ผู้คนจำนวนมากเข้าแถวตรงทางขึ้นสะพานทสึเท็งเคียวเพื่อเข้าไปชมเหล่าใบไม้ที่อวดสีสดใสแข่งกันในฤดูใบไม้ร่วงจากบนสะพานทสึเท็งเคียว เมื่อเดินผ่านจุดนี้แล้วตรงไปจะพบกับห้องโถงฮอนโดะซึงเป็นห้องโถงหลักและที่อยู่ทางด้านซ้ายของทางเข้าห้องโถงนั่นเองคือสวนโฮโจอันเลื่องชื่อ สวนโฮโจประกอบไปด้วยสวนแบบแห้ง 4 แบบ บนระเบียงทางเดินไม้แห่งนี้ทำให้ฉันรู้สึกผ่อนคลายหลังจากผ่านผู้คนแออัดบนสะพานทสึเท็งเคียว ฉันสามารถเดินชมใบไม้เปลี่ยนสีได้อย่างเพลินเพลินเหมาะกับรูปแบบชีวิตของคนญี่ปุ่นสมัยใหม่ได้อย่างดีทีเดียว

สวนโฮโจ

สวนโฮโจเกิดขึ้นเมื่อ ชิเงะโมริ มิเรอิ ผู้ออกแบบสวนได้ก่อสร้างเมื่อ ค.ศ.1939 โดยมีแนวคิดในการแสดงพลังอารมณ์ทางนามธรรม(Abstract Expression) สวนทางทิศใต้ได้นำเอาตำนานของจีนมาเป็นแนวทางในการออกแบบโดยการใช้ทรายสีขาวแทนทะเล มีก้อนหินสี่ก้อนแทนเกาะสำคัญในตำนานและเนินเล็กๆห้าเนินแทนวัดนิกายเซนในเกียวโตหรือจีน สวนด้านทิศตะวันตกถูกออกแบบให้มีรูปแบบคล้ายกระดานหมากรุกมีต้นกุหลาบพันปีในสวนซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของทุ่งนา สวนทางด้านทิศเหนือจะพรรณนาถึงการเผยแพร่ความเชื่อเรื่องศาสนาพุทธจากอิเดียเข้ามาสู่เอเชียตะวันออกโดยมีการใช้ตะไคร้น้ำสีเขียวบนพื้นที่คล้ายตารางหมากรุกค่อยๆผสมผสานจนดูเข้ากันทีละน้อย ส่วนสวนทิศตะวันออกการตั้งในออกแบบให้เสาหินทั้งเจ็ดต้นแทนกระบวยขนาดใหญ่ซึ่งในนิกายเซนกระบวยจะใช้ในพิธีกรรมชำระบาปของนักบวช สวนทั้งสี่แบบสามารถพรรณาถึงความเชื่อและแง่คิดของศาสนาพุทธและวิถีชีวิตของชาวเอเชียได้อย่างลึกซึ้งงดงาม อีกทั้งต้นไม้, ก้อนหินและม็ดทรายในสวนก็เป็นสิ่งที่เราต่างก็คุ้นเคยดี แต่ความประทับใจที่เราจะได้รับจากสวนแห่งนี้นอกจากความสดชื่นและสวยงามแล้ว เรายังสามารถรับรู้ได้ถึงความคิดสร้างสรรค์ที่มิเรอิได้ใส่ลงไปในงานอีกด้วย

ชิเงะโมริ มิเรอิ และการเข้าถึงงานออกแบบของเขา

  ความประทับใจในสวนของมิเรอิทำให้พบอีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจ นั่นคือการจัดวางตำแหน่งของก้อนหินซึ่งมีความเป็นลงตัวราวกับเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและยังดูทันสมัยอีกด้วย เขาได้จัดวางก้อนหินราวกับว่ามันเป็นรูปแกะสลักอันสวยงามลงบนพื้นหญ้าลวดลายคล้ายตารางหมากรุกซึ่งเป็นตัวแทนของทุ่งนา สิ่งที่มิเรอิแตกต่างจากนักออกแบบทั่วไปคือเขาตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วในการเลือกสถานที่และมุมมองของก้อนหินขนาดใหญ่แต่ละก้อน เมื่อก้อนหินถูกจักวางลงเขาจะไม่ขยับหรือเปลี่ยนตำแหน่งของหินและในงานของเขาจะไม่มีก้อนหินเหลือจากการสร้างสวนแต่ละครั้งเลย คนงานต่างรู้สึกยินดีเมื่อจะได้ร่วมงานกับมิเรอิเพราะเขาสามารถอธิบายและสรุปงานให้เข้าใจได้อย่างง่ายดาย มิเรอิเคยเขียนถึงการจัดวางตำแหน่งของหินแต่ละก้อนของเขาว่า “พระเจ้าดลใจผมและผลแค่ทำตามคำบัญชาของพระเจ้าเท่านั้นเอง เมื่อก้อนหินถูกวางลงยังตำแหน่งที่ถูกต้องที่นั่นคือที่ของมัน” นั่นคือเหตุผลว่าทำไมสวนของเขาจึงควรค่าแก่การรักษาไว้เพื่อแสดงถึงยุครุ่งเรื่องของศิลปวัฒนธรรมอันมีค่านั่นเอง

เกี่ยวกับเรื่องนี้

เกียวโตถือเป็นเมืองหลวงอันเก่าแก่ซึ่งมีระยะเวลาอันยาวนานนับพันปี เมืองหลวงที่เต็มไปด้วยวัดและสวนอันงดงาม ซึ่งสวนต่างๆจะมีรูปแบบหลัก 3 รูปแบบ ได้แก่

1. สวนแบบแห้ง(Dry Garden) ซึงจะใช้ก้อนกรวดและทรายเป็นสัญลักษณ์แทนผืนน้ำ โดยทั่วไปสวนเหล่านี้จะถูกจัดให้มองเห็นได้จากห้องต่างๆ

2. สวนแบบทางเดินระยะสั้น (Excursion style Garden) โดยปกติจะประกอบด้วยทางเดินรอบๆสระน้ำ เราสามารถชื่นชมกับบรรยากาศหลากหลายรูปแบบในขณะที่เดิน

3. สวนแบบนามธรรม (Abstract style Garden) รูปแบบของสวนที่ค่อนข้างจะเป็ฯสวนแบบสมัยใหม่(Modern)แต่ก็ยังคงยึดถือแนวปฏิบัติแบบดั้งเดิม

  สวนแห่งแรกในเกียวโต คือ สวนชิเซ็งเอน และค่อยๆใช้เวลาในการพัฒนาผ่านช่วงระยะเวลายาวนานจนมาเป็นสวนทั้งสามแบบข้างต้น ฉันอยากจะแนะนำภมิสถาปนิกหรือนักออกแบบสวน ผู้ที่ออกแบบสวนอันงดงามต่างๆในเกียวโต

1. พริเอทสฺ มุโซ โซเซกิ (1275-1351) : ผู้ออกแบบสวนเท็นริวจิ (Excursion style Garden)

2. โคโบริ เอ็นชู (1579-1647) : ผู้ออกแบบสวนคนจิอินทสึรุคาเมะ (Dry Garden)

3.อิชิคาวะ โจเซ็น (1583-1672) : ผู้ออกแบบสวนบ้านพักตากอากาศชิเซ็นโด (Dry Garden/Excursion style Garden)

4.อุเอจิ VII (1860-1933) : ผู้ออกแบบสวนบ้านพักตากอากาศมิรินอัน (Excursion style Garden)

5. ชิเงะโมริ มิเรอิ (1896-1975) : ผู้ออกแบบสวนโทฟุคุจิโฮโจ (Abstract style Garden)

Wachiraporn Palasan

Wachiraporn Palasan @wachiraporn.palasan