ไคดันเป็นส่วนหนึ่งของวัดโทไดซึ่งครั้งหนึ่งในอดีตเคยเป็นสถานที่ที่ศักดิ์สิทธิ์มากที่พระสงฆ์ผู้เข้ามาฝึกอบรมได้เริ่มเข้าสู่พุทธศาสนาโดยฝึกต่อหน้าพระอาจารย์ ไคดันตั้งอยู่ในฝั่งตะวันตกของวัดโทไดอันเงียบสงบ ที่นี่อยู่ออกนอกเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในนาราไปนิดหน่อย ภายในไคดันคือห้องโถงไคดัน ห้องโถงนี้มีเจดีย์ทาโฮโตะ(วัดจิ๋ว)ที่ได้รับการคุ้มครองจาก 4 เทพเจ้า รูปปั้น 4 เทพเจ้าเฝ้าวัดเป็นผลงานชิ้นเอกจากยุคเท็มเปียว(729-749) รูปปั้นเทพเจ้าเหล่านี้ตั้งตระหง่านสวยงามอยู่ในโฆษณาทีวีตัวนี้
ไคดัน
ไคดันสร้างขึ้นในปี 754 ตามคำแนะนำของพระอาจารย์ชาวจีนกันจินที่มีชื่อเสียง แต่มันกลับกลายเหลือแค่เพียงขี้เถ้าถึง 3 ครั้งในปี 1180, 1446,และ1567 ในปี 1732 อารามที่เราเห็นอยู่ตอนนี้ถูกสร้างขึ้นแต่ในตอนนั้นวัดไม่ได้มีบทบาทสำคัญอย่างที่มันเคยเป็น
เมื่อคุณเข้าสู่บริเวณวัดคุณจะเห็นที่กั้นเป็นไม้ไผ่ปักเขตแดนบนทรายสีน้ำตาลบริสุทธิ์ มันสวยงามมาก ลองมองไปที่กระเบื้องมุงหลังคาที่เป็นแนวๆ จะเห็นกระเบื้องตกแต่งด้วยปีศาจและมังกร ปีศาจเป็นยันต์ของอารามและมังกรเป็นสัญลักษณ์ของเมฆ ใช้ในการเรียกพายุและฝน(ซึ่งป้องกันอารามจากไฟไหม้) จากนั้น เดินเข้าไปในห้องโถง ให้จำไว้ว่าส่วนนี้เป็นส่วนที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของวัด ไม่อนุญาติให้ถ่ายภาพหรือวาดภาพใดๆทั้งสิ้น โปรดสำรวม
การเริ่มต้นพิธีกรรม
ผู้ที่จะเข้ามาเป็นพระสงฆ์ในพุทธศาสนาที่นี่ครั้งแรกต้องเริ่มต้นที่ไคดัน พิธีกรรมกระทำต่อหน้าพระอาจารย์ 7-10 ท่านบวกกับพยาน 1 คน, ผู้สอน 1 คน,และโค้ชอีก 1 คน อย่างแรกเลยคือ พวกเขาอ่านพระสูตรด้วยกันและจากนั้นพระอาจารย์ทำการตัดสินและยืนยันคุณสมบัติของผู้สมัครแต่ละคน 3 ครั้งในกระบวนการที่ซับซ้อน เมื่อผ่านขั้นตอนนี้แล้ว ผู้สมัครจะได้รับการยอมรับว่าเป็นพระสงฆ์ หลังจากนั้นผู้สอน(ดังที่กล่าวไปข้างต้น)แนะนำศีล 250 ข้อและธรรมเนียมปฎิบัติ 3000 ข้อและกฎระเบียบที่ซึ่งโค้ช(ดังที่กล่าวไปข้างต้นเหมือนกัน)อธิบายรายละเอียดทีละคน
ชาวพุทธญี่ปุ่นก่อนที่พระอาจารย์กันจินมาญี่ปุ่น
ทำไมญี่ปุ่นถึงกระตือรือร้นในการต้อนรับพระอาจารย์กันจิน? ทำไมญี่ปุ่น ต้องการที่จะเชิญผู้เชี่ยวชาญที่รู้ศีลของชาวพุทธ และกฎระเบียบลึก? ซึ่งคำตอบนั้นเกี่ยวข้องมากๆกับทัศนคติของพุทธศาสนาญี่ปุ่น
อย่างที่คุณรู้ว่า ญี่ปุ่นส่งเสริมศาสนาชินโตและศาสนาพื้นเมืองมาตั้งแต่ยุคตำนาน พุทธศาสนาเข้ามาในญี่ปุ่นจากประเทศจีนผ่านทางประเทศเกาหลีในศตวรรษที่ 6 และมันมีความหมายเพียง 200 ปีที่ผ่านมาเมื่อพระอาจารย์กันจินมาถึงญี่ปุ่น นอกจากนี้พระพุทธศาสนาได้รับการยอมรับจากผู้นำทางการเมืองไม่ใช่จากความปรารถนาของผู้คน พระสงฆ์ในสมัยนั้น จึงถูกเรียกว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล พวกเขารู้ว่าพระสงฆ์ควรปฏิบัติตามศีลและกฎระเบียบที่เข้มงวดของพุทธศาสนาแต่อย่างไรก็ตามพวกเขาไม่ได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับพระสงฆ์ พวกเขาเพียงแค่เล่นบทบาทของ "ชาวพุทธ"
เมื่อญี่ปุ่นส่งทูตไปเยี่ยมเยียนราชวงศ์ถังในปี 630 ทูตเหล่านั้นได้เรียนรู้พุทธศาสนาในประเทศจีนและตระหนักว่า"พุทธศาสนาญี่ปุ่น"ค่อนข้างแตกต่างจากพุทธศาสนาในประเทศจีน พวกเขาได้ไปวัดวาอารามชั้นนำในอาณาจักรถังและในที่สุดก็มาถึงข้อสรุปที่ว่าญี่ปุ่นยังไม่เข้าใจพื้นฐานของพุทธศาสนาดังนั้นพวกเขาจึงจำเป็นต้องเชิญผู้เชี่ยวชาญระดับสูงไปยังประเทศญี่ปุ่น
และในที่สุดพระอาจารย์กันจินก็มาญี่ปุ่น
ไคดันที่วัดโทไดเป็นสัญลักษณ์ของรุ่งอรุณในพุทธศาสนาญี่ปุ่นและญี่ปุ่นเป็นหนี้พระอาจารย์กันจินที่พยายามนำคำสอนของพุทธศาสนาที่แท้จริงมายังประเทศญี่ปุ่น