การแสดงดาบคาตานะที่จากไบเซ็น โอซะฟุเนะ ที่พิพิธภัณฑ์ดาบ (เครดิตรูปภาพ: Kenji Chida)

ดาบและโอคายามะ

การเชื่อมต่อกับไบเซ็น

การแสดงดาบคาตานะที่จากไบเซ็น โอซะฟุเนะ ที่พิพิธภัณฑ์ดาบ (เครดิตรูปภาพ: Kenji Chida)
Thanakorn J   - ใช้เวลาอ่าน 1 นาที

หากคุณคิดถึงดาบญี่ปุ่น คุณคงคิดภาพของดาบคาตานะ ซึ่งได้ทำความเข้าใจหลังจากเยี่ยมชมที่พิพิธภัณฑ์ดาบ ไบเซ็น โอซะฟุเนะ ซึ่งคาตานะเป็นชื่อดาบประเภทหนึ่ง ตามคำอธิบายของพิพิธภัณฑ์ คาตานะเกิดจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสู้รบของทหารราบที่ออกจากกองทหารม้า ดังนั้นคุณอาจกล่าวได้ว่าคาตานะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไรเฟิลในทุกวันนี้

ดาบญี่ปุ่นคืออะไร คำตอบสำหรับคำถามนี้เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นโดยตรง และนอกจากนี้เหตุผลที่ต้องเป็นคาตานะก็คือ โอซะฟุเนะเป็นเมืองแห่งการทำดาบที่สำคัญมากในช่วงมุโรมาจิ ซึ่งดำเนินมาตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 14 ถึงปลายศตวรรษที่ 16 ในช่วงยุคที่ภาคตะวันออกของจังหวัดโอกายาถูกเรียกว่าเป็นเขตไบเซ็นซึ่งเป็นที่มาของชื่อเต็มพิพิธภัณฑ์ ไบเซ็น โอซะฟุเนะ ค่อนข้างสับสันเล็กน้อยเพราะเมืองที่อยู่ข้างๆ ทางทิศตะวันออกก็ถูกเรียกว่า "ไบเซ็น" เช่นกัน

โอฟุเนะไม่เพียงแค่มีโรงเรียนหรือสร้างรูปแบบดาบของตัวเองแต่ยังเป็นหนึ่งในผู้ผลิตดาบที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ในช่วงประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น แผ่นดินถูกแบ่งออกเป็นส่วนๆ และควบคุมโดยกลุ่มขุนพลที่พยายามจะให้รักษาอำนาจไม่ให้ตกไปอยู่ในมือของจักรพรรดิกลาง

ฟังเหมือนกับหนังสตาร์วอเลยใช่มั้ย ในความเป็นจริงแล้วมันไม่ได้ห่างไกลจากการที่ผู้มีความสามารถในการสร้างดาบอันนำมาซึ่งอำนาจและและศักดิ์ศรีแก่ภูมิภาคและตัวผู้ทำการปกครองเลย ญี่ปุ่นยังไม่ได้เป็นประเทศเดี่ยวและถูกควบคุมแบบเดียวกับยุโรปในยุคกลาง ขุนนางหรือจักรพรรดิเป็นเจ้าของที่ดินคนแรกและคนที่สำคัญที่สุดที่มีแรงงานไร้ที่ดินและเกษตรกรมากมายภายใต้การควบคุมของพวกเขา

ซามูไรจะถูกเกณฑ์มาเพื่อปกป้องดินแดนไม่ต่างจากวิธีการที่กษัตริย์ในยุโรปจ้างอัศวินในช่วงที่เกิดความขัดแย้ง เงินเป็นสิ่งที่ยากจะได้มาดังนั้นการชำระเงินจึงได้ถูกสร้างขึ้นในแผ่นดินและสินค้าโภคภัณฑ์

ที่นี้เป็นดินแดนแห่งไบเซ็น ในยุคปัจจุบันของโอคายามะ ที่ซึ่งเกิดสงครามการต่อสู้ระหว่างชนเผ่าต่างๆ โดยกวัดแกว่งกาบซึ่งตีโดยช่างทำดาบผู้มีความสามารถของโอซะฟุเนะ พิพิธภัณฑ์ดาบ ไบเซ็น โอซะฟุเนะ ไม่ได้เป็นเพียงสถานที่เพื่อชื่นชมดาบญี่ปุ่นแต่ยังมีประวัติศาสตร์ของพื้นที่ด้วย

Thanakorn J

Thanakorn J @thanakorn.j