ที่มุมในชั้น 1 มีป้ายเก่าๆและชิ้นส่วนของประตูโรงงานกระดาษเก่าที่ตอนนี้ไม่มีโรงงานนี้อยู่แล้ว (เครดิตรูปภาพ: Justin Velgus)

พิพิธภัณฑ์กระดาษในสวนอะสึกะยามะ

สวยทั้งในกระดาษและสวยเมื่อเห็นกับตา

ที่มุมในชั้น 1 มีป้ายเก่าๆและชิ้นส่วนของประตูโรงงานกระดาษเก่าที่ตอนนี้ไม่มีโรงงานนี้อยู่แล้ว (เครดิตรูปภาพ: Justin Velgus)
Poranut J   - ใช้เวลาอ่าน 1 นาที

ผมไม่ได้บอกว่าตัวผมเป็นแฟนพันธุ์แท้กระดาษแต่เมื่อเดินทางไปโตเกียว ผมพบว่าตัวเองอยู่ไม่ห่างจากพิพิธภัณฑ์ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องกระดาษซึ่งผมเองต้องรอจนกว่าเพื่อนจะมาถึงสถานีใกล้ๆ ที่นั่นไม่มีอันตรายใดๆนอกซะจากกระดาษจะบาดเอา ผมจึงตัดสินใจเข้าไปในพิพิธภัณฑ์ด้วยความไม่แน่ใจว่าหวังจะเห็นอะไร พิพิธภัณฑ์กระดาษในเขตคิตะของโตเกียวที่อยู่ใกล้สถานีโอจิถูกสร้างขึ้นเพียงไม่กี่ปีหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองในปี 1950 และย้ายไปที่สวนอะสึกะยามะในปัจจุบันในปี 1998 ผมว่าเวลาเดินดู 30 นาทีไม่น่าจะพอนะ

พิพิธภัณฑ์กระดาษมี 4 ชั้น ที่จริงแล้วพิพิธภัณฑ์ครอบคลุมเกี่ยวกับกระดาษทุกอย่างและมีสิ่งน่าสนใจหลายอย่างที่ทำให้คุณสงสัยจริงๆว่ามีอะไรที่กระดาษทำไม่ได้บ้าง ที่นี่มีทั้งประวัติศาสตร์กระดาษท้องถิ่นและของโลก, การผลิต, บริโภค, และกระบวนการ รีไซเคิล, การใช้สอย,และผลิตภัณฑ์จากกระดาษ ในขณะที่ป้ายบอกรายละเอียดเป็นภาษาญี่ปุ่น คุณจะได้รับแผ่นพับและหนังสือเล่มเล็กเป็นภาษาอังกฤษเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์และกระบวนการกระดาษหลายเล่มโดยไม่เสียเงินที่แผนกต้อนรับ(หลังจากจ่ายค่าเข้าชม) ผมยังอยากชี้ให้เห็นว่ามีลิฟท์สำหรับผู้เข้าชมดังนั้นผู้ที่มีปัญหาในการใช้บันไดก็จะสามารถเข้าชมพิพิธภัณฑ์ได้ คุณจะเริ่มต้นที่ชั้น 2 ของพิพิธภัณฑ์ ผมขอแนะนำให้ขึ้นไปตรงห้องโถงนิทรรศการแล้ว หยุดที่ ชั้น 1 เพื่อแอบสอดส่องก่อนจะไปที่อื่น มาเริ่มกันเลย

ชั้น 2 เต็มไปด้วยข้อมูลเกี่ยวกับวัสดุกระดาษและกระบวนการผลิตที่มีผลิตภัณฑ์กระดาษกระจัดกระจายอยู่ ตรงกลางห้องเป็นอุปกรณ์ผลิตกระดาษ โมเดลเครื่องโม่และเครื่องอัดขนาดเล็กและสิ่งอื่นๆ ผู้เข้าชมที่เป็นคนญี่ปุ่นอาจจะแค่มองรูปและผลิตภัณฑ์โดยไม่มีความกังวลเกี่ยวกับรายละเอียดบนป้ายมากนัก ให้คุณหยิบแผ่นพับและหนังสือเล่มเล็กที่ได้รับมามาอ่านซะ เมื่อเห็นกล่องกระดาษแข็ง, ทิชชู่, หนังสือ,และการ์ด ผมเริ่มมาคิดว่ามนุษย์ใช้กระดาษไปมากเท่าไรเนี่ย เมื่อเดินต่อไปที่ชั้นต่อไปผมเข้าใจเลยว่ากระดาษมันใช้ได้อเนกประสงค์จริงๆ

เด็กๆจะสนุกกับชั้น 3 อย่างแน่นอน มันถูกออกแบบมาเพื่อสอนเด็กๆเกี่ยวกับกระดาษและความสำคัญของการรีไซเคิล สื่อการสอนมีทั้งแบบจอสัมผัส, ตู้ซ่อนคำตอบหรือวัสดุกระดาษที่ไม่ซ้ำใคร,และข้อมูลเสียงที่ ทำให้ชั้นนี้มีการทำกิจกรรมโต้ตอบมาก ดีสำหรับครอบครัวและยังดีสำหรับคู่รักที่ผมเห็นด้วย จากนั้นผมสนุกกับการเดาว่ากระดาษที่ผมจับทำมาจากอะไร เดาจนผมได้รับคำตอบว่ามาจากอุจจาระช้าง จากนั้นผมก็ไปชั้น 4

ชั้น 4 มีรายละเอียดประวัติศาสตร์ของกระดาษและยังมีห้องจัดแสดงพิเศษที่มาพร้อมกับค่าธรรมเนียม ห้องนี้จัดขึ้นสำหรับคนรักกระดาษที่สร้างขึ้นอย่างวิจิตรและด้วยความระมัดระวังและใส่ใจในรายละเอียด น่าเสียดายที่ไม่อนุญาติให้ถ่ายรูปในห้องนี้ กระดาษปาปิรุส, กระดาษหนังคัมภีร์พุทธ,และกระดาษวาชิแบบดั้งเดิมถูกแสดงอยูในชั้นที่เหลือ ยังมีผลิตภัณฑ์ที่ทำ จากกระดาษได้อย่างน่าเหลือเชื่ออยู่ชั้นบน เช่น ปราสาทกระดาษ, กิโมโนที่เคยถูกนักแสดงคาบุกิที่มีชื่อเสียงสวมใส่, ตุ๊กตาหมี, ขวดน้ำแบบเก่า, และตุ๊กตากระดาษที่ซับซ้อน คุณต้องมาเห็นกับตาตัวเอง

ผมเสร็จการสำรวจพิพิธภัณฑ์อย่างไวโดยการลงลิฟท์มาชั้น 1 ในบ่ายวันเสาร์คุณสามารถทำกระดาษของคุณเองได้จากกล่องนมรีไซเคิล(จ่ายค่าธรรมเนียมเวิร์คช้อปก่อน) ที่มุมในชั้น 1 มีป้ายเก่าๆและชิ้นส่วนของประตูโรงงานกระดาษเก่าที่ตอนนี้ไม่มีโรงงานนี้อยู่แล้วแต่คนก็ยังจดจำมันได้ ถ้าคุณยังได้กระดาษไม่พอ คุณสามารถไปดูได้ที่ห้องสมุดกระดาษหรือกลับไปร้านกิ๊ฟช็อปชั้น 2 เพื่อซื้อกระดาษกลับบ้านได้

คุณเป็นคนรักกระดาษและกำลังอยู่ในจังหวัดโคอิชิหรือเปล่า? ลองดูว่าได้ไปพิพิธภัณฑ์อิโนะหรือยัง!

คุณซื้อตั๋วเข้าชมพิพิธภัณฑ์ที่เครื่องจำหน่ายหน้าประตูทางเข้า ถ้าคุณมีอารมณ์ที่จะเรียนรู้ คุณอาจจะเลือกซื้อตั๋วแบบลดราคาที่รวมพิพิธภัณฑ์กระดาษและพิพิธภัณฑ์อื่นๆที่ใกล้เคียงอีก 2 แห่งไว้ด้วย ยื่นตั๋วของคุณที่เคาน์เตอร์ด้านหน้าและคุณจะถูกกระหน่ำด้วยด้วยแผ่นพับและหนังสือเล่มเล็กเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์และกระบวนการกระดาษจากวัตถุดิบเพื่อการบริโภคและการรีไซเคิล

Poranut J

Poranut J @poranut.j