ในวันที่เงียบสงบ ท้องฟ้ามืดครึ้มของเดือนกรกฎาคม ฉันตัดสินใจไปเยี่ยมชมสวนคิว-ฟุรุกะวะ (Kyu-Furukawa) ฉันได้เห็นโปสเตอร์โฆษณางานเทศกาลดอกกุหลาบประจำปีในเดือนพฤษภาคม ที่รอบๆ สถานีรถไฟ ถึงแม้ว่าเวลาที่สำคัญของดอกกุหลาบได้หมดไปแล้ว แต่ประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมของสวนก็มีมากพอที่ทำให้ฉันสนใจไป
สวนคิว-ฟุรุกะวะ ใน Kaminakazato, Kita-ku เป็นสวนที่มีลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งผสมผสานรูปแบบตะวันตกและตะวันออกเข้าด้วยกัน บริเวณสวนสร้างขึ้นบนเนินเขา แต่เดิมเป็นของมุซุ มุเนะมิซุ (Mutsu Munemitsu) นักการทูตที่สำคัญในสมัยเมจิ หลังจากที่ลูกชายคนที่สองของเขาได้แต่งงานกับคนในครอบครัวฟุรุกะวะ บ้านพักได้กลายเป็นสมบัติของพวกเขา และต่อมาได้ถูกรื้อถอนลง
อาคารของสวนในปัจจุบันเป็นได้ออกแบขึ้นสมัยไทโชะ โดยโจเซีย คอนดอร์ (Josiah Condor) โดยใช้สไตล์ classic English aristocratic สร้างด้วยหินและอิฐ ส่วนสวนญี่ปุ่นได้รับการออกแบบโดย โอะกะวะ จิเฮะอิ (Ogawa Jihei) รู้จักกันในชื่อ นิวะชิ-อุเอะจิ (Niwashi-Ueji)
ในตอนที่ฉันไปเยี่ยมชมนั้น มีศิลปินท้องถิ่นจับกลุ่มกันนั่งบนเก้าอี้หรือบนทางเท้า ในมุมต่างๆ กันโดยรอบอาคารที่พัก และภายหลังได้แบ่งบันภาพเขียนหรือภาพวาดกันในกลุ่ม
ใช่แต่อาคารที่พักที่เป็นแรงบันดาลใจและความงาม ยังมีทางเดินเก่าแก่ใต้ร่มเงาไม้ที่ออกแบบอย่างประณีต และสายน้ำให้ความรู้สึกที่สงบ น้ำตกโอะตะกิ (Otaki) ไหลลงสู่สระชินจิ-อิเคะ (Shinji-ike) ที่สร้างเป็นรูปตัวอักษรญี่ปุ่นคำว่า หัวใจ (心) ในสระยังมีปลาคราฟ และเต่าที่ว่ายน้ำตามฉันในขณะเดินข้ามสะพาน
แม้ว่าสวนคิว-ฟุรุกะวะควรค่าในการเยี่ยมชมตลอดปี แต่เวลาที่ดีที่สุดคือช่วงฤดูใบไม้ผลิ (ปลายเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนมิถุนายน) เพื่อชมดอกซากุระและดอกกุหลาบ หรือในช่วงฤดูใบไม้ร่วง (กลางเดือนกันยายนถึงกลางเดือนธันวาคม) เพื่อชมสีส้มและแดงสดของต้นเมเปิ้ลญี่ปุ่น
สวนเปิดเวลา 9:00-17:00 นาฬิกา ทุกวัน ยกเว้นวันที่ 29 ธันวาคมไปจนถึง 1 มกราคม ค่าเข้าชม ฟรีสำหรับเด็กชั้นประถมหรือมัธยมที่เข้าเรียนอยู่ที่โรงเรียนในโตเกียว 70 เยนสำหรับผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป และ 150 เยนสำหรับผู้เข้าชมอื่น ๆ