ต้นวิลโลว์ตั้งโดดเดี่ยวยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ศตวรรษที่ 19 (เครดิตรูปภาพ: Erik O'Brien)

เขตฮิกาชิ ชายาและเกอิชาในคะนะซะวะ

ฮิกาชิ ชายาที่ที่ใกล้ที่สุดที่พาคุณย้อนเวลากลับไป

ต้นวิลโลว์ตั้งโดดเดี่ยวยินดีต้อนรับทุกท่านสู่ศตวรรษที่ 19 (เครดิตรูปภาพ: Erik O'Brien)
Poranut J   - ใช้เวลาอ่าน 1 นาที

สิ่งที่ทำให้ผมหลงสเน่ห์ประเทศญี่ปุ่นได้เสมอนั่นก็คือการที่ประเทศนี้อนุรักษ์ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอันเก่าแก่ ในขณะที่มีสิ่งที่ถูกอนุรักษ์ไว้มากมายในประเทศญี่ปุ่นแล้ว แต่ผมเชื่อว่าเมืองคะนะซะวะเป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดของการอนุรักษ์อดีตอันเก่าแก่

เมืองคะนะซะวะตั้งอยู่ในจังหวัดอิชิคะวะ ห่างออกมาจากชายฝั่งทะเลญี่ปุ่นก็มีปูที่มีชื่อเสียง ไหนจะเหล้าสาเกคุณภาพสูงและยังเต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ปกครองโดยตระกูลมาเอดะมานานกว่า 300 ปี ที่เมืองนี้มีสถานที่ที่โดดเด่นคือสวนเค็นโรขุเอ็นและปราสาทคะนะซะวะ

ในขณะที่สถานที่เหล่านี้เป็นอนุสาวรีย์ที่น่าทึ่งในช่วงเวลานั้น สำหรับผมแล้วไม่มีสถานที่ไหนโดดเด่นไปกว่าตรอกโรงน้ำชาฝั่งตะวันออก ตรอกโรงน้ำชาฝั่งตะวันออกเป็นหมู่บ้านเกอิชาในเมืองคะนะซะวะและสถานที่แห่งนี้ทิ้งเครื่องหมายที่ลบไม่ออกไว้ทั้งในหัวใจและความคิดของผม

ต้นวิลโลว์อันเงียบเหงาต้อนรับคุณเข้าสู่ศตวรรษที่ 19 ถนนหินกรวดและบ้านไม้ระแนงขัดแตะดูแล้วน่าเกรงขาม มีบ้านเกอิชาในอดีตหลายๆบ้านที่คุณสามารถเยี่ยมชมโดยต้องจ่ายค่าเข้า

ถ้าคุณเลือกจะชมแค่เพียงหนึ่งที่ มันน่าจะเป็นโอชะยะ ชิมะอย่างไม่ต้องสงสัยเลย ที่นี่ค่าเข้า 400 เยน คุณจะได้สัมผัสกับ สภาพความเป็นอยู่ของเกอิชาในช่วงเวลานั้น บ้านเกอิชาถือว่าเป็นมรดกของชาติ บ้านมี 2 ชั้น 3 บันได วัตถุประสงค์คือ เพื่อให้แขกที่เข้ามาหาความบันเทิงเข้ามาและออกไปโดยไม่เห็นหน้ากัน
ในแต่ละชั้นมีห้องให้ความบันเทิง 3 ห้อง แต่ละห้องยังคงเหมือนเดิมไม่การมีเปลี่ยนแปลงใดๆทั้งสิ้น ที่นี่คุณจะเห็นเครื่องมือ, ศิลปะ, เครื่องประดับและอุปกรณ์เสริมอันวิจิตรงดงามที่สุดที่เกอิชาที่อยู่ที่นั่นเคยใช้ การแสดงที่โอชะยะ ชิมะยังคงมีทั้งแบบเชื่องช้าและหวือหวาอย่างน่าประทับใจ

หากจ่ายเงินเพิ่มอีก 400 เยน คุณจะได้รับชามัชฉะ 1 ถ้วย(ผงชาเขียว)และขนมหวานญี่ปุ่นแบบดั้งเดิมในบริเวณห้องครัว พร้อมด้วยเสียงเพลงนุ่มลึกของเครื่องดีด 3 สายที่อัดไว้ก่อนแล้วบรรเลงในฉากหลังที่ช่วยให้คุณจดจ่อกับความคิดของตนเองถึงสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นที่โอชะยะ ชิมะ

ตรอกโรงน้ำชาฝั่งตะวันออกไม่ใช่แค่เพียงสถานที่ที่ดีในการเยี่ยมชมเท่านั้นแต่เหมาะกับการพักค้างแรมด้วยเช่นกัน ผมไม่ได้มาโฆษณานะ อีกทั้งยังมีโยอุเกะซึที่ผู้คนเดินผ่านไปผ่านมาทุกวัน มันเป็นบ้านเกอิชาที่มีอายุเกือบ 200 ปีที่ถูกคู่รักคู่หนึ่งมาซื้อไปและกลายมาเป็นบ้านที่เจ้าของเปิดให้นักเดินทางมาพัก

ที่นี่มีห้อง 5 ห้อง ราคาตกคนละ 5000 เยน(ไม่รวมอาหารเช้า) โยอุเกะซึไม่มีสิ่งอำนวยควาสะดวกทันสมัยใดๆ(โทรศัพท์, โทรทัศน์, WiFi) เจ้าของพูดภาษาอังกฤษไม่ได้แต่พวกเขาก็ยินดีช่วยเหลือมากๆ โยอุเกะซึไม่มีเว็บไซท์ จองโดยโทรศัพท์ที่เบอร์ 0081-076-252-0497

ถ้าคุณจองล่วงหน้า ลองถามถึงห้องที่สามารถมองเห็นถนนด้านหน้าตรอกโรงน้ำชาฝั่งตะวันออก หากคุณนั่งริมหน้าต่างตอนกลางคืนคุณจะได้ยินเสียงรองเท้าเกี๊ยะกระทบหินกรวดที่เกอิชาใส่ระหว่างเดินไปรับแขก นี่อาจจะทำให้คุณใกล้ชิดกับการย้อนเวลาขึ้นไปอีก

ห่างออกไปไม่กี่ฟุตเป็นร้านอาหารฮิกะชิยามะที่สร้างขึ้นในปี 1909 เมื่อเข้าไปในร้านเหมือนกับว่าคุณเดินทางย้อนเวลากลับไปสู่ต้นศตวรรษที่ 20 มีม้านั่งเดี่ยวสไตล์โบราณหรือชาบู ได(โต๊ะต่ำแบบดั้งเดิม)ให้เลือก ที่นี่ก็เหมือนกันที่ข้างในร้านยังคงเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง จะมีแค่เพียงเล็กน้อยคือ โทรทัศน์ที่ทันสมัย
ที่นี่คุณจะได้พบกับชาวบ้านและวัยรุ่นกลุ่มเล็กๆมาทานอาหารสไตล์โฮมเมดและเบียร์ ผมขอแนะนำแกงกะหรี่หมูที่เป็นอาหารญี่ปุ่นที่ทำง่ายและเป็นของแท้ดั้งเดิมโดยราดไข่ไว้ด้านบน อาหารที่นี่สนนราคา 800-2500 เยน

ในขณะที่ที่นี่เป็นสถานที่่ที่มีแต่คนท้องถิ่นซะส่วนใหญ่ เมื่อคนต่างถิ่นเข้ามาพวกเขาจะจ้องมองและพูดเกี่ยวกับคุณ รอสักพักและจะมีคนมาถามคุณ"โดชิระ โน คุนิ?" คนคะนะซะวะเป็นคนสบายๆ พวกเขาจะทำให้คุณหายประหม่าได้ในเวลาไม่นาน

หลังจากจบการดื่มเบียร์แก้วสุดท้ายและการสนทนาที่เบาสมอง ผมออกจากร้านอาหารฮิกะชิยามะเพื่อตามหาต้นวิลโลว์เพื่อนำคุณกลับไปในศตวรรษที่ 19 ผมหยุดและจ้องมองก่อนที่แสงจันทร์จะเปล่งประกายลงบนกิ่งยาวที่ห้อยลงมาและกำลังแกว่งไกวในสายลมหนาวเดือนพฤศจิกายนของมัน

ผมประหลาดใจในการเปลี่ยนแปลงทั้งกับโลกและคนในสมัยนั้น ผมมีความสุขอยู่กับความลึกลับของประวัติศาสตร์และหมกมุ่นอยู่ในมนตร์วิเศษของมันและมนตร์วิเศษที่ว่าคือ เมืองคะนะซะวะ ผมจะกลับมาอีกครั้งและหวังว่าคุณจะกลับมาอีกเช่นกัน!

ข้อมูลเพิ่มเติม

ค้นหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Higashi Chaya District

Poranut J

Poranut J @poranut.j