องครักษ์ นำขบวน (เครดิตรูปภาพ: Supachai Khemmalai)

ชมขบวนแห่Aoi matsuriแบบไม่เสียค่าชม

ขบวนแห่เทศกาล อาโออิ นั้นสวยงามเป็นระเบียบและไม่วุ่นวาย

องครักษ์ นำขบวน (เครดิตรูปภาพ: Supachai Khemmalai)
Supachai Khemmalai   - ใช้เวลาอ่าน 1 นาที

ต้นฤดูใบไม้ผลินั้นเป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวสนใจไปเที่ยวญี่ปุ่นมาก พอกลางฤดูนักท่องเที่ยวจะน้อยลงแต่ญี่ปุ่นก็ยังมีสิ่งดีๆให้ชมมากมาย ฤดูใบไม้ผลิไม่ได้หมดไปตามดอก ซากุระ ใครที่ชอบเกียวโตนั้นต้องหาโอกาศไปชมหนึ่งในขบวนแห่ของเขาซักครั้ง หนึ่งในนั้นคือขบวนแห่คือ เทศกาล อาโออิ Aoi Matsuri เทศกาล อาโออิ นั้นแปลได้ว่า เทศกาลต้นฮอลลี่ฮอก เป็นหนึ่งในสามเทศกาลสำคัญของเกียวโต เทศกาลนี้บางครั้งก็เรียกว่า เทศกาล คาโม Kamo Festiva และเทศกาลนี้จัดเป็นประจำทุกปีในวันที่ 15 ของเดือนพฤษภาคม ประวัติของเทศกาลนั้นเริ่มในสมัยกษัตริย์ คินเมอิ และเรียกเทศกาลนี้ว่า นิฮอน โชว์กิ ตามบทบันทึกโบราณ ที่เรียกว่า ฮอนโชว์ เกซึเรอิ Honcho getsurei และ เนนจูเกียวจิฮิโชวะ Nenchugyoji hissho กล่าไว้ว่าในช่วงนั้นได้เกิดอุทกภัยและพายุทำลายพืชผลไร่นาในประเทศ เนื่องมาจากเทพคาโมบรรดาล โทษรุ่นแรงมาให้ พระกษัตริย์ จึงทรงรับสั่งให้คนถีอสาร พร้อมด้วยองคลักษณ์ นำข้อความไปบอกวัดหลวงให้ทำพิธี ต่างๆเพื่อขอขมาต่อเทพ เพื่อขอให้ได้ผลการเก็บเกี่ยวที่อุดมสมบูรณ์ พิธีกรรม นั้นรวมถึงการขี่ม้าเร็ว จากที่กล่าวมาประเพณีนี้เลยกาลเป็นประเพณีประจำปี และการขี่ม้าเร็ว ได้ปรับปรุงเป็นแสดงการขี่ม้ายิงธนู ในต่อมาตามคำกล่าวของบทบันทึกของ โซะกุ นิฮองกิ Zoku Nihongi กล่าวว่า มีผู้คนมาร่วมชมการขี่ม้าบิงธนูมากมายในวันเทศกาล ดั้งนั้น หลังจาก กษัตริย์ ครองราชย์ได้สองปี การขี้ม้ายิงธนูก็ถูกสั่งห้าม ในศตวรรษที่เก้า กษัตริย์คันมุ ได้ก่อตัง พระที่นั่ง ในเกียวโต และนั้นก็เป็นการเริ่มต้นของยุค เฮอันในญี่ปุ่น กษัตริย์ คันมุ Kanmuได้ถือว่า เทพในวัดหลวงคาโมนั้น เป็น เทพคุ้มครองเมืองหลวง เฮอัน และได้ประทานให้ เทศกาล อาโออิ เป็นพระราชพิธีประจำปี เทษกาลอาโออิ ถึงจุดที่ได้รับความนิยมสูงสุดในช่วงกลางของยุค กลางของสมัย เฮอัน จากนั้นก็ค่อยๆเสื่อมลงในยุคสมัย คามาคูระ และ ช่วงยุคสมัย มุโรมาชิ จากนั้นประเทศญี่ปุ่นได้เข้าสู่ช่วงสมัย เซ็งโกกุ เทศกาล อาโออิ ได้หยุดทำการเฉลิมฉลองในยุค และในยุค เกนโรกุของช่วงสมัยเอโดะ ได้นำเทศกาล อาโออิ กลับมาอีก แต่หลังจากสองปีในช่วงสมัยเมจิ(1869)ตอนที่มีกาลย้ายเมืองหลวงจากเกียวโตเป็นโตเกียว การเฉลิมฉลองก็หยดอีกครั้ง และใน ยุคเมจิ 17 (1885) รัฐบาลญี่ปุ่นได้นำเทศกาล อาโออิ กลับมาอีกด้วยโครงการปรับปรุงเมืองเกียวโตให้น่าสนใจ เพราะสงครามโลกครั้งที่สอง พิธีการของขบวนแห่ทุกอย่างได้ถูกยกเลิก เหลือแค่พิธีกรรมหน้าวัดหลวงเท่านั้น ในที่สุด พิธีกรรมของเทศกาลอาโออิ เริ่มอีกครั้งในปี 1953 และ ขบวนแห่ เจ้าหญิง ไซโอได เประเพณีนี้ได้เริ่มเข้ามาในปี 1956 ที่มาของชื่อเทศกาล อาโออิ ที่เรียกว่าเทศกาล ต้นฮอลลี่ฮอกนั้น สืบเนื่องมาจากการใช้ใบของต้นฮอลลี่ฮอกประดับตกแต่งงาน ใบของต้นฮอลลี่ฮอกนั้นครั้งหนึ่งได้ถือว่าเป็นเครืองรางคุ้มครองจากภัยธรรมชาติ อ้างอิง การเดินทางนั้น ก็ไปได้สะดวก พระราชวังหลวงนั้น ใช้เวลาแค่ สิบนาทีด้วยรถไฟใต้ดินสาย คาราซูมาKarasuma ขึ้นรถไฟที่สถาณี เกียโต ลงรถไฟใต้ดินที่ สถาณี มารุทามาจิ Marutamachi หรือ สถาฌี อิมาเดกาว่า Imadegawa อิมาเดกาว่านั้นจะใกล้ทางเข้ามากกว่า ที่ชมงานได้สวยงามควรอยู่ที่ สวนด้านหน้าพระราชวังหลวง เดินผ่านกำแพงนอกเข้าไป งานเริ่มวันที่ สิบห้า พฤษภาคม เริ่มเดิน จากวังหลวงเวลาสิบโมงครึ่ง ดั้งนั้น ควรไปถึงก่อนเวลา ถ้ามีธุระติดช่วงเช้า ไปไม่ทันชมที่วังหลวง ต้องไปรอชมขบวนที่จุดอื่นๆ ข้อมูล เพิ่ม ตามลิงค์ครับ การชมนั้นก็มีแบบเสียเงินและไม่เสียเงิน แบบไม่เสียเงินนั้นเราต้องไปรอชมตามจุดต่างๆที่ขบวนเดินผ่าน ผมแนะนำที่สวนด้านหน้าวังหลวง เพราะเป็นจุดเริ่มขบวน เรานั่งรอชมด้านหน้าได้เลย ใครที่ไม่สะดวกนั้งกับพื้น ชมขบวน เขามีสวนชมขบวนแบบเสียค่าใช้จ่ายเป็นที่นั่ง มีสองจุด จุดแรกที่วังหลวง Imperial Palace และจุดที่สอง ที่วัด ชิโมกาโมะ Shimogamo shrine ที่นั่งทั้งสองที่ราคา ประมาณ สองพันห้าสิบ เยน ซื้อบัตรได้ที่ร้านสะดวกซื้อ Lawson (ที่ญี่ปุ่น) และ ร้านMinistop(ที่ญี่ปุ่น) หรือ ตาม เอเจนท์ ท่องเที่ยวในประเทศญี่ปุ่น หลังจากชมขบวนแห่แล้วจากจุดนี้ เราเดินทางท่องเที่ยวต่อได้มากมายครับ ผมนั้นหลังจากชมขบวนแห่แล้วผมก็เดินทางไปชมสวนสวนพฤกษศาสตร์ของเกียวโตต่อ ไปญี่ปุ่นทุกครั้งผมต้องหาข้ออ้างไปเกียวโตครับ

Supachai Khemmalai

Supachai Khemmalai @supachai.khemmalai

I'm an urban permaculturist. As much as I love gardening, travelling is my other passion. When it comes to travelling, I'm more interested in nature,culture and local food. We often go to japan to visit our family. The abundance of nature and temperate forests of Japan impress me most. Every time...