ศาลาทอง Kinkaku (เครดิตรูปภาพ: Tomoko Kamishima)

วัดทอง (Kinkaku-ji Temple) เกียวโต

ศาลาทองอร่ามและงานเลี้ยงในสวนที่กว้างขวาง

ศาลาทอง Kinkaku (เครดิตรูปภาพ: Tomoko Kamishima)
Somrak Bhakdisuparit   - ใช้เวลาอ่าน 2 นาที

วัด Kinkaku-ji (หรือที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่าวัด Rokuon-ji) ปกติจะถูกแปลว่า "วัดศาลาทอง" แม้ว่าเรามักพุ่งความสนใจไปที่ตึก Kinkaku ที่งดงาม แต่ทั้งบริเวณวัดเป็นที่ที่พิเศษ

Ashikaga Yoshimitsu (1358-1408) โชกุนที่เกษียณแล้วสร้างคฤหาสน์ส่วนตัวให้ตัวเองชื่อ Kitayama-dono ซึ่งรวมศาลาทองที่เป็นที่ต้อนรับจักรพรรดิ ทูตจากต่างประเทศ และเหล่าขุนนาง ในฐานะนักการเมือง Yoshimitsu มีผลงานการรับใช้ประเทศญี่ปุ่นที่ยิ่งใหญ่ถึงสองงานด้วยกัน อย่างแรก เขาสิ้นสุดความขัดแย้งที่ยาวนานกว่า 50 ปี (1336-1392) ระหว่างสองจักรพรรดิ อย่างที่สอง เขาสานต่อความสัมพันธ์ทางการเมืองและการค้าขายระหว่างญี่ปุ่นกับราชวงศ์หมิงของจีนซึ่งเป็นสัญญาอย่างเป็นทางการฉบับแรกระหว่างประเทศทั้งสองใน 500 ปี ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง the Tang Dynasty Yoshimitsu อาจสร้าง Kinkaku เพื่อแสดงถึงความสำเร็จและอำนาจของเขา

คฤหาสน์นี้กลายเป็นสาขาหนึ่งของวัด Shokoku-ji Temple หลังจากที่ Yoshimitsu เสียชีวิต แต่ก็ยังเป็นที่ที่เป็นที่นิยมในการมาจัดงานเลี้ยงในหมู่ขุนนาง แน่นอนพระเอกคือ Kinkaku แต่ผู้คนสมัยนั้นก็ชอบเดินในสวนสองชั้น นั่งเรือในสระน้ำขนาดใหญ่ และชมวิวจากสะพานข้ามสระน้ำด้วย

งานเลี้ยงหรูหราที่ศาลาทอง

จาก 1402 ถึง 1407 Yoshimitsu ต้อนรับทูตจากราชวงศ์หมิงของจีน the Ming Dynasty ทุกๆปีที่ Kitayama-dono และในปี 1408 จักรพรรดิ Go-komatsu ไปเยี่ยมชม Kitayama-dono และอยู่ถึงสามอาทิตย์ ในช่วงเวลานั้น Yoshimitsu จัดงานเลี้ยงต้อนรับและบันเทิงจักรพรรดิด้วยการแสดงเต้นรำแบบ Mai, ละครดนตรี Sarugaku operas, การแข่งบอล Kemari, การแข่งแต่งกลอน Renga or Waka, และการล่องเรือในสระน้ำ

สมุดบันทึกประจำวันของพระที่วัด Shokoku-ji บรรยายคฤหาสน์นี้ว่า

"...เกือบเหมือนสวรรค์; คฤหาสน์ที่น่าทึ่งนี้เป็นที่กล่าวถึงในหมู่ผู้คนทั่วเมือง มีโครงสร้างสูงหลายแห่ง ศาลาที่น่าอัศจรรย์ และอาคารที่งดงามที่มีภาพวาดและงานแกะสลักที่สวยงาม ทั้งหมดนี้กระจายอยู่ตามจุดต่างๆในบริเวณเหมือนหมู่ดาวในท้องฟ้า" (แปลโดยผู้เขียนบทความนี้)

อีกสมุดบันทึกหนึ่งที่ถูกเขียนขึ้น 200 ปีต่อมาเมื่อปี 1638 โดยพระของวัด Kinkaju-ji ว่าไว้ว่า

"เราชอบชาเขียวที่โรงชา และชอบเดินขึ้นเนินเขาไปทานมื้อกลางวันและจิบเหล้าสาเก saké หลังจากนั้น เราจะกลับมาที่ Kinkaku และนั่งเรือ เราชอบมันมาก หลังจากนั้นอีกเราจะกินก๋วยเตี๋ยวอุดง udon และข้าวผสมเครื่องปรุงต่างๆ" 

รายละเอียดของศาลาทอง

ศาลาเป็นตึกสูงสามชั้น ชั้นแรกประกอบไปด้วยห้องกว้างเรียกว่า Shinden-zukuri; ชั้นที่สองมีห้องอยู่สองห้องซึ่งถูกกั้นด้วยประตูกระดาษและระเบียงเรียกว่า Buke-zukiri; และชั้นที่สามมีกล่องที่บรรจุกระดูกของพระพุทธ ห้องนี้ถูกกั้นด้วยหน้าต่างโค้งเรียกว่า Zenshu-yo ด้านนอกของชั้นแรกเป็นไม้สีเข้มซึ่งจะตัดกับสองชั้นข้างบนซึ่งถูกล้อมรอบด้วยกำแพงสีทองอร่าม เนื่องจากศาลาตั้งอยู่ที่ขอบด้านหนึ่งของสระน้ำ เงาสะท้อนของศาลาจะระยิบระยับอยู่ในน้ำ สีเข้มของชั้นล่างที่คนส่วนใหญ่ไม่สังเกตช่วยสร้างความสมดุลให้กับความสว่างของสองชั้นบน

ประวัติสวน

เจ้าของดั้งเดิมของที่ดินนี้คือ Nakasukeo (1157-1222) ซึ่งเป็นขุนนางในราชสำนัก ต่อมา Saionji Kintsune (1171-1244) ผู้มีตำแหน่งสูงสุดในราชสำนักได้ซื้อที่นี้ต่อและสร้างวัดและคฤหาสน์สำหรับครอบครัวแล้วตั้งชื่อว่า Kitayama-dai เขาสร้างสวนสำหรับเดินเล่นที่อลังกาลรอบๆสระน้ำที่มีน้ำตกจำลองและหินสวย นอกจากนี้เขายังสร้างห้องที่ทำจากหินสำหรับรูปปั้นพระบนเนิน ตามสมุดบันทึกประจำวันของ Fujiwara no Teika ขุนนางและนักกวี เขาชื่นชอบสวนที่ยอดเยี่ยมนี้และสักการะบูชารูปปั้นพระใหม่ที่ Kitayama-dai เขาเขียนไว้ว่า "ไม่มีอะไรจะเลิศไปกว่านี้" แต่สวนนี้ก็รกร้างเมื่อครอบครัว Saionji สิ้นอำนาจ

ในปี 1397 Yoshimitsu ได้ที่มาจากครอบครัว Saionji และบูรณะคฤหาสน์ Kitayama-dono ที่สวยงามนี้ เขาออกแบบคฤหาสน์ตามวัด Saiho-ji Temple ซึ่งมีสวนสองชั้นที่มีสระน้ำและทางเดินเล่นชั้นล่างและสวนที่ไม่มีสระน้ำชั้นบน สวนล่างมีศาลาสองชั้นข้างๆสระน้ำ สวนบนถูกสร้างขึ้นบนและรอบๆสุสานเก่า เป็นที่รู้ดีว่า Yoshimitsu ชื่นชมพระ Muso Soseki และไปวัด Saiho-ji ที่ Muso Soseki สร้างก่อนหน้านั้น 50 ปีบ่อยๆ Yoshimitsu ถึงกับเคยไปค้างที่วัดทั้งคืนเพื่อปฏิบัติธรรม

สวนสองชั้นที่ Kinkaku-ji

สวนที่มีที่เดินเล่นตามสระน้ำรวมถึง Kinkaku เป็นสวนชั้นแรก มันทำให้รู้ว่าสวรรค์บนโลกมีจริง เวลาพระอาทิตย์ตกดิน กำแพงสีทองของศาลาจะสว่างเมื่อแสงอาทิตย์ส่องกระทบ Kinkaku เคยเชื่อมกับสระน้ำฝั่งตะวันออกด้วยสะพาน ณ เวลานั้น ถ้ายืนบนสะพานซึ่งอยู่ใกล้กับสระน้ำมาก เราอาจเห็นทั้งตัวศาลาที่ส่องสว่างและเงาสะท้อนของศาลาระยิบระยับอยู่บนผิวน้ำ พระสงฆ์เชื่อว่าดินแดนสวรรค์ที่บริสุทธ์ิอยู่ทางทิศตะวันตก ฉะนั้นสะพานเปรียบเสมือนทางเชื่อมระหว่างสวรรค์บนโลกกับดินแดนแห่งความบริสุทธิ์

สวนชั้นบนบนเนินเขาคือสวนชั้นสองของที่นี่ซึ่งเปรียบเสมือนดินแดนของผู้ที่จากไปแล้วเนื่องจากเจ้าของเก่าได้สร้างวัดและสุสานของครอบครัวไว้ที่ตรงนั้น Yoshimitsu ใช้สุสานเก่าอย่างฉลาดในการแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของศาลาทองอร่ามกับโลกของผู้ตายตอนที่ออกแบบสวนนี้

เกี่ยวกับงานเขียนชุดนี้

ในปี 1339 พระ Muso Soseki ออกแบบและสร้างสวนสองชั้นที่วัด Saiho-ji ซึ่งโด่งดังจนถึงทุกวันนี้ ความแตกต่างระหว่างสวนล่างที่งามสง่าที่มีสระน้ำและสวนบนที่สงบคงมีพลังซ่อนอยู่สูงมาก เวลาผ่านไป 700 ปีและสวนได้เปลี่ยนไปจนไม่เหลือสภาพเดิม ตอนนี้เราสามารถเพลิดเพลินกับเสน่ห์ของสวนที่ปกคลุมไปด้วยพรมหญ้ามอสส์ที่สวยงาม

เพราะ Muso Soseki ที่คนชื่นชมและผลงานของเขา คนที่มีอำนาจในยุคต่อๆมาออกแบบสวนตามสวนสองชั้นของ Saiho-ji ในงานเขียนชุดนี้ ดิฉันจะมุ่งไปที่สวนที่พิเศษสามสวนในเกียวโตและมองความงดงามของสวนทั้งสามผ่านการใช้พื้นที่

1. วัด Saiho-ji ที่มีพรมหญ้ามอสส์ปกคลุมสวนที่ใช้ประบัติธรรมนิกาย Zen

2. วัด Kinkaku-ji ศาลาทองอร่ามและสวนสำหรับจัดงานเลี้ยงที่กว้างขวาง

3. วัด Ginkaku-ji ศาลาเงินที่อ่อนช้อยและสวนชมจันทร์

ข้อมูลเพิ่มเติม

ค้นหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ วัดคินคะคุจิในฤดูร้อน

Somrak Bhakdisuparit

Somrak Bhakdisuparit @somrak.bhakdisuparit

I am a restless soul that likes to globe trot in hope of expanding my self growth in every possible directions. I like exploring new places or exploring new angles of familiar places. There is always something fresh to see, which will rejuvenate your soul. Japan is one of the unique places with s...